Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67420
Title: ผลกระทบของการพัฒนามหาวิทยาลัยต่อการตั้งถิ่นฐานโดยรอบ : กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
Other Titles: The impacts of University development on surrounding settlements : a case study of Mahidol University, Salaya Campus, Nakhonpathom Province
Authors: ปิยะพร ปิตะฝ่าย
Advisors: ศักดิ์ชัย ศิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การตั้งถิ่นฐาน
การพัฒนาชุมชน
ผังเมือง
มหาวิทยาลัยมหิดล
Land settlement
Community development
City planning
Mahidol University
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงและการขยายตัวของชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา รวมถึงระดับอิทธิพลของมหาวิทยาลัยและปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่ศึกษา ตลอดจนสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการขยายตัวของชุมชน และเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนโดยรอบของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และพื้นที่ต่อเนื่องเพื่อเป็นแนวทางในการรองรับการขยายตัวของมหาวิทยาลัยอื่นๆ และชุมชนโดยรอบในอนาคต โดยทำการศึกษาจากการสำรวจและการแปลภาพถ่ายทางอากาศ ตลอดจนการสำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชากรมหาวิทยาลัยที่มีความสัมพันธ์กับชุมชน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) ตามสูตรการคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่พอดีของ Yamane (1973) ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ที่ระดับนัยสำคัญ0.05 โดยได้กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน500 ชุด ทั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบช่วงเวลาก่อนการก่อตั้งมหาวิทยาลัยจนถึงปัจจุบัน และแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาทั้งทางด้านกายภาพเศรษฐกิจ สังคม และแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เหมาะสม สำหรับชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัยในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมในตำบลศาลายาได้รับอิทธิพลจากปัจจัยภายนอก ได้แก่ (1) แนวโน้มการขยายตัวของที่อยู่อาศัยในพื้นที่เขตต่อเมืองฝั่งตะวันตกของกรุงเทพมหานครทำให้มีการขยายตัวของเขตเมืองสู่พื้นที่ชานเมืองรอบ นอกในอำเภอพุทธมณฑลมากขึ้น (2) การพัฒนาโครงข่ายคมนาคมสายหลักที่เชื่อมต่อกับเขตเมืองของกรุงเทพมหานครส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง ศักยภาพพื้นที่และการตั้งถิ่นฐานของชุมชนโดยเกิดชุมชนใหม่ในลักษณะบ้านจัดสรรในบริเวณที่ถนนตัดผ่าน ได้แก่ ถนนปิ่นเกล้า-นครชัยศรี ทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ถนนกาญจนาภิเษก ถนนเพชรเกษม และกรุงนนท์-จงถนอม (3) ผังภาคกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ.2544 กำหนดให้ชุมชนศาลายามีบทบาทเป็นชุมชนระดับรองมีหน้าที่ทางด้านการศึกษาและพักอาศัย (4) เขตอิทธิพลของย่านการค้าปิ่นเกล้าที่เป็นศูนย์ กลางรวมของเมืองมีเขตอิทธิพลครอบคลุมถึงพื้นที่ตำบลศาลายาก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายประชากรระหว่างพื้นที่สำหรับปัจจัยภายในพื้นที่ ได้แก่ (1) พัฒนามหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาได้สร้างแรงดึงดูดให้เกิดการลงทุนก่อสร้างที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหารที่เกี่ยวเนื่องกับมหาวิทยาลัย มีผลต่อการขยายตัวของการใช้ที่ดินประเภทที่พักอาศัย และพักอาศัยถึงพาณิชยกรรมในลักษณะของโครงการบ้านจัดสรร หอพัก และอาคารพาณิชย์ ตามแนวถนนศาลายา-นครชัยศรี รูปแบบวิถีชีวิตเปลี่ยนจากชุมชนเกษตรกรรมเป็นแบบชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่โดยรอบมหาวิทยาลัยที่ทำหน้า ที่เป็นตัวแทนศูนย์กลางทางการศึกษาระดับสูงของชุมชน (2) การเปลี่ยนแปลงประชากรของประชากรในชุมชนศาลายาและประชากรมหาวิทยาลัยที่ ก่อให้เกิดการจ้างงานต่อเนื่องในภาคบริการที่มีแนวโน้มสูงขึ้น (3) นโยบายและแผนพัฒนาเทศบาลตำบลศาลายามุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อ พัฒนาศักยภาพในการเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยในการรองรับการขยายตัวของกรุงเทพมหานคร จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ชุมชนศาลายาเป็นพื้นที่ที่มี แนวโน้มการขยายตัวสูงในอนาคต ฉะนั้นการที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่ใกล้กับพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานครจึงไม่สามารถวิเคราะห์อิทธิพลของ มหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ตำบลศาลายาและบทบาทในการเป็นมหาวิทยาลัยในภูมิภาคที่มีหน้าที่ในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่โดย รอบของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายาได้อย่างเด่นชัด ดังนั้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบมีการใช้ประโยชน์ที่ดินที่สอดคล้องและ ตอบสนองต่อการขยายตัวในอนาคตจึงควรกำหนดให้ชุมชนศาลายามีบทบาทเป็นชุมชนเมืองที่ให้บริการทางด้านการศึกษา การศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนการค้าเพื่อรองรับการขยายตัวด้านที่อยู่อาศัยจากกรุงเทพมหานคร โดยให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินแบบศูนย์กลางเดียวและมีรูปแบบ คมนาคมทั้งทางถนน และรถไฟรองรับ
Other Abstract: The objectives of this thesis are to study the factors that have affected on the changes and expansion of community surrounding Mahidol University. Salaya Campus including the level of influence of the university and other factors that affect the changes of the studied area as well as the problems that arise as a result of community expansion and to provide guidelines for the development of the area surrounding Mahidol University. Salaya Campus and its hinter land as a guideline to support the expansion of other universities and surrounding area in the future. The research methodology was survey and translation of aero photograph as well as survey of buying behaviors of the university's population that related to the community by cluster sampling method according to the appropriate sample calculation rule of Yamane in estimation of parameter at 0.05 level of significant. The sample size has set at 500 sets in order to make a comparative study of period before the settlement of the university until present and trends that may happen in the future in order to set a physical, economical and social development guidelines, and an appropriate land use plan for the community surrounding the university in the future. The study found that physical, economical and social changes in Tambon Salaya have been influenced by extemal factors which are 1) the expansion trends of residential area in the west side of Bangkok which resulted in more expansion from urban to surrounding suburb area in Putthamonthol District; 2) the development of main transportation network that connected to the urban Bangkok has changed the potential area and the settlement of community in form of new housing subdivision community in area that the roads pass through or the ribbon development area i.e Pinklao - Nakhon Chaisri Road, Boromchonni Elevated Road, Kamjanaphisek Road, Petchkasem Road and Nont - Jong thanom Road; 3) Bangkok and metropolis city plan A.D.2000 has set Salaya community as a secondary community that responsible for education and residential; 4) the influential area of Pinklao shopping zone, a regional center, has an influential area that covers the area of Tombon Salaya and cause relocation of population between area. The intemal factors are 1) the development of Mahidol University, Salaya Campus has attracted investment in housing construction, store, and semi commercial and residential houses, dormitories, and business buildings along Salaya-Nakhon Chaisri Road. The community had changed from an agricultural community to city community especially in area surrounding the university which serve as a center of higher education of the community. 2) Changes of population in Salaya community and population of the university have resulted in continued employment in service sector which has an increasing trend. 3) Policy and municipal development plan of Tombon Salaya emphasis on developing basic structures to improve the potentiality of being a residential area to respond to the expansion of Bangkok. The above factors have resulted the Salaya community an area with high expansion trends in the future. Therefore, the fact that the University is located near the urban area of Bangkok cannot clearly analyze the influence of the university toward the changes of Tombon Salaya area and the role of being a university in the region that has responsibility to develop its surrounding area. As a result, for the university and surrounding area to make use of land in accordance and in response to future expansion, it should set a role of Salaya community as a city community to provide education, religion, culture as well as commercial services in order to support the residential expansion from Bangkok by using a single land use center and have both street and railway transportation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางผังเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67420
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2005.383
ISBN: 9741424051
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2005.383
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyaporn_pi_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.1 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch1_p.pdfบทที่ 11.14 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch2_p.pdfบทที่ 21.65 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch3_p.pdfบทที่ 37.42 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch4_p.pdfบทที่ 42.1 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch5_p.pdfบทที่ 51.54 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_ch6_p.pdfบทที่ 61.03 MBAdobe PDFView/Open
Piyaporn_pi_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.