Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67830
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบดี ธนะมั่น-
dc.contributor.advisorภรณี เหล่าอิทธิ-
dc.contributor.authorเจริญศรี จันทร-
dc.date.accessioned2020-09-08T04:54:37Z-
dc.date.available2020-09-08T04:54:37Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741421346-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67830-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้รูปแบบการศึกษาเป็นแบบเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชายหญิงที่ศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้แบบสอบถาม เครื่องชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง รวมทั้งตารางมาตรฐานน้ำหนักส่วนสูง และเครื่องชี้วัดทางโภชนาการของประชาชนไทยอายุ 1 วัน - 19 ปี ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2542 โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 1,832 คน เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนี้ (ชาย 734 คน หญิง 1,089 คน) ผลการศึกษาพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่มีภาวะโภชนาการค่อนน้อยและน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 46.7 รองลงมาคือ ภาวะโภชนาการตามเกณฑ์ ร้อยละ 45.2 และภาวะโภชนาการค่อนข้างมากและมากเกินเกณฑ์ ร้อยละ 6.6, 1.5 ตามลำดับ 2. พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนมีความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดีและปานกลาง (ร้อยละ 68.2) มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของบริโภคนิสัยในการบริโภคอาหารอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 84.3) มีค่าเฉลี่ยคะแนนบริโภคนิสัยอยู่ในระดับดี 3. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คือ ความรู้ด้านโภชนาการ บริโภคนิสัยในการบริโภคอาหาร ระดับการศึกษาสูงสุดของบิดามารดาและผู้ปกครอง การสนับสนุนทางสังคม อิทธิพลจากสื่อเขตพื้นที่การศึกษา เขตพื้นที่การปกครอง สังกัดการศึกษา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05 คือ เพศ การศึกษาของมารดา รายได้รายจ่ายของครอบครัว ภาวะโภชนาการของบิดามารดา เขตพื้นที่การศึกษาและเขตพื้นที่การปกครอง ซึ่งนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดามารดาเป็นครอบครัวเดี่ยว ระดับการศึกษาของบิดา มารดา ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมีอาชีพค้าขายและรับราชการ รายได้และรายจ่ายส่วนใหญ่น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ลักษณะอาหารที่นักเรียน รับประทานในครอบครัวส่วนใหญ่จะประกอบอาหารโดยการปรุงอาหารรับประทานเองทุกมื้อ ร้อยละ 66.8 และอาหารกลางวันที่นักเรียนจะรับประทาน จะซื้อจากแม่ค้าในโรงเรียน โดยส่วนใหญ่อาหารมื้อเช้ามักจะเป็นข้าวต้ม ข้าวแกง และนมกับขนมปัง (ร้อยละ 28.7, 28.4, 22.1 ตามลำดับ) มื้อกลางวันจะเป็นข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน (ร้อยละ 35.0, 25.8, 21.6 ตามลำดับ) มื้อเย็น นักเรียนมักจะรับประทาน ข้าวแกง ก๋วยเตี๋ยว ผลไม้ นม ประเภทของอาหารที่นักเรียนรับประทานใน 1 สัปดาห์ พบว่า อาหารที่นักเรียนรับประทานเป็นประจำ คือ ปลา, ผลไม้ เช่น มังคุด มะม่วง ทุเรียน, นมสด / โยเกิร์ตแบบกระป๋อง, ไข่ไก่ ไข่เป็ดen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed at determining nutritional status, eating behavior and associated factors among secondary school students in Suratthani province. A cross-sectional descriptive survey was conducted during October 2005 to November 2005 among 1,832 students. Data was collected by self-administrated questionnaire. There were 734 males and 1089 females. The results showed that most students (46.7 percent) were nearly underweight and underweight, 45.2 percent were normal weight, overweight and obesity were 6.6 and 1.5 percent respectively. Eating behavior scores is high (84.3 percent) mean score is also in good range ; while nutritional knowledge scores which lies from medium and above (68.2 percent) mean score is also in medium range. Factors which were statistically significantly associated with nutritional status were sex, family income and expenses, school and district area. In addition, factors which were statistically significantly associated with eating behavior status were study area, type of school, father, mother and parent education, nutritional knowledge, eating behavior, family's expenses, students' expense. Most students were living with father and mother in a single family. Most parent's education were secondary school, their occupations were merchants and government officers, and their income and expenses were less than 10,000 baht per month. The major characteristics of food, students had eaten were mostly home - made. The students' lunch were bought in the school cafeteria. Most of their breakfast were boiled rice, rice with curry (Kaao - gaeng), milk and bread. Most of their lunch were rice with curry (Kaao - gaeng) and noodle. Most of their dinner were rice with curry (Kaao - gaeng), noodle, fruits and milk. Fish, fruits, milk/yoghurt, eggs are the most frequently eaten kinds of food. This study showed that eating behavior and nutritional status in Suratthani province are normal weight and nearly underweight and underweight which should be benefit for authorities in order to plan any strategies for better health of the students in Thailanden_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น -- โภชนาการ -- ไทย -- สุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectบริโภคนิสัย -- ไทย -- สุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectJunior high school students -- Nutrition -- Thailanden_US
dc.subjectFood habits -- Thailanden_US
dc.titleภาวะโภชนาการ พฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในจังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeNutrition status eating behavior and associated factors of secondary school students in Suratthani Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเวชศาสตร์ชุมชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorPoranee.L@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Charoensri_ju_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ947.04 kBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_ch1_p.pdfบทที่ 11 MBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_ch2_p.pdfบทที่ 22.04 MBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_ch3_p.pdfบทที่ 3898.76 kBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_ch4_p.pdfบทที่ 41.67 MBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_ch5_p.pdfบทที่ 51.14 MBAdobe PDFView/Open
Charoensri_ju_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.