Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68500
Title: ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยงานรัฐบาล
Other Titles: Variables related to the adoption of computer technology of trainers in government organizations
Authors: จิรา วงเลขา
Advisors: วิชุดา รัตนเพียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Vichuda.R@chula.ac.th
Subjects: นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
คอมพิวเตอร์
เจ้าหน้าที่ฝึกอบรม
Technological innovations
Computers
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยงานรัฐบาล (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยงานรัฐบาล กับตัวแปรด้านสถานภาพส่วนตัวของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ตัวแปรด้านความพึงพอใจในการทำงาน ตัวแปรด้านการแสวงหาความรู้ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม ตัวแปรด้านการสนับสนุนของผู้บริหาร และตัวแปรด้านคุณลักษณะของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ (3) ศึกษาตัวแปรที่มีส่วนร่วมในการอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยงานรัฐบาล จำนวน 463 คน ผลการวิจัยพบว่า 1.เจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในหน่วยงานรัฐบาล มีการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในระดับปานกลาง 2.ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรกับการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ พบว่า ตัวแปรที่มี ความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 40 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การนำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ (2) คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ประเมินผลการฝึกอบรม (3) คอมพิวเตอร์ใช้เป็นสื่อประกอบการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 17 ตัว อันดับแรก ได้แก่ (1) ไม่ได้นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ (2) ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง (3) ศึกษาค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา 3.การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบายการยอมรับ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4, 6, 2, 5 และ 2 ตัวตามลำดับ โดยตัวแปรทุกตัวที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับทั้ง 5 ขั้น ได้ร้อยละ 50.5, 57.1, 47.6, 54.2 และ 55.2 ตามลำดับ 4.การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Method) เพื่อคัดเลือกตัวแปรที่ดี ที่สุด พบตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 7, 8, 7, 6 และ 8 ตัว ตามลำดับ โดยตัวแปรทุกตัวที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับได้ร้อยละ 40.9, 47.4, 39.3, 43.0 และ 48.1 ตามลำดับ และพบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับได้ 5 ขั้น จำนวน 3 ตัว คือ การได้นำความรู้ที่ได้จากการฝึกอบรมไปใช้ การที่ผู้บริหารสนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และ คอมพิวเตอร์เป็นสื่อประกอบการฝึกอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the adoption of computer technology of trainers in Government organization (2) to study the relationship between the adoption of computer technology and selected factors: trainers’ status, job satisfaction, acquisition of Knowledge, administrator support and perception of characteristics of the computer technology and (3) to identify predictor variables in the adoption of computer technology. The samples were 463 trainers in government organization. The findings revealed that: 1.Trainers in Government organization adopted computer technology in moderate level. 2.There were statistically significant positive relationships at .01 level between the Adoption of computer technology 40 selected variables. The first three variables were; use the knowledge from the training, computer was evaluation for training and computer was an efficiency media training. There were statistically significant negative relationships at .01 level between the adoption of computer technology 17 selected variables. The first three variables were; unused the knowledge from the training, self-study and study from book or text. 3.In multiple regression analysis (Enter Method) at .01 level, in knowledge stage, Persuasion stage, decision stage, implementation stage and confirmation stage, there 4, 6, 2, 5, 2 predictor variables together were able to account for 50.5% 57.1% 47.6% 54.2% and 55.2% of the variance. 4.In stepwise multiple regression analysis at .01 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage and confirmation stage, there were 7, 8, 7, 6, 8 predictor variables together were able to account for 40.9% 47.4% 39.3% 43.0% and 48.1% of the variance. The variables found in five stage were use the knowledge from the training, admistrator support to study about computer and computer was an effective media for training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68500
ISBN: 9743323252
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jira_wo_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_ch1_p.pdfบทที่ 11.05 MBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_ch2_p.pdfบทที่ 22.22 MBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_ch3_p.pdfบทที่ 3819 kBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_ch4_p.pdfบทที่ 45.41 MBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_ch5_p.pdfบทที่ 52.05 MBAdobe PDFView/Open
Jira_wo_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.