Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71545
Title: | สภาพชีวิตของผู้เสพย์ยาบ้าและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การเกิดพฤติกรรมการเสพย์ยาบ้า |
Other Titles: | Life conditions of amphetamine addicted and factors associated with amphetamone addiction |
Authors: | รัฐพล อินทรวิชัย |
Advisors: | ยุบล เบญจรงค์กิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Yubol.B@chula.ac.th |
Subjects: | แอมฟิตะมิน คนติดยาเสพติด -- การดำเนินชีวิต คนติดยาเสพติด -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว การสื่อสารในครอบครัว Amphetamines Drug addicts -- Conduct of life Drug addicts -- Domestic relations Communication in the family |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพชีวิตของผู้เสพยาบ้า,ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมการ เสพยาบ้าและพฤติกรรมการเสพยาบ้า เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย ซึ่งแบ่งเป็น ผู้เสพยาบ้าที่ต้องโทษจำคุกในทัณฑสถานบำบัดพิเศษชายและหญิง จำนวน 18 ราย และผู้ที่เข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลธัญญารักษ์ จำนวน 12 ราย ผลการศึกษามีดังนี้ 1. สภาพชีวิตของผู้เสพยาบ้า กลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง14-38 ปี มีการศึกษาตั้งแต่ระดับป. 4 จนถึงระดับปริญญาตรี อาชีพที่พบมีตั้งนักเรียน ทำงานกลางคืน ขับรถบรรทุก ใช้แรงงาน รันจ้างทั่วไป เป็นพนักงานบริษัทและโรงงาน ทำกิจการส่วนตัวและว่างงาน ส่วนใหญ่เป็นโสด มีรายได้และฐานะครอบครัวที่แตกต่างทั้งดี ปานกลางและยากจน ครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่างมีพ่อแม่หย่าร้างหรีอพ่อแม่เสียชีวิต ส่วนใหญ่ไม่มีความใกล้ชิดสนิทสนมกับพ่อแม่และพี่น้อง หรือบุคคลที่อาศัยอยู่ร่วม สื่อสารในครอบครัวส่วนใหญ่เป็นแบบปล่อย อยู่อาศัยตั้งที่มีขอบเขตและสัดส่วนชัดเจนและ แบบไม่มีขอบเขตและสัดส่วนที่ชัดเจน เช่น สลัม แฟลต ชุมชนแออัด การรับประทานอาหารสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่ต่างคนต่างกิน ก่อนเสพยาบ้าสุขภาพโดยรวมปกติหลังจากเสพแล้วเริ่มมีการเจ็บป่วยมากขึ้น ส่วนใหญ่คิดว่าตนเอง ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สนในระดับพอสมควร กิจวัตรประจำวันพบว่าก่อนเสพยาบ้ามีเวลาส่วนใหญ่อยู่ที่ 1 .การเรียน 2.การทำงานช่วงกลางคืน 3. การขับขี่เดินทาง 4.การไปทำงานเช้าเย็นกลับและกลุ่มว่างงานไม่แน่นอนกิจวัตรที่ เปลี่ยนแปลงหลังเสพคือการพักผ่อน, การรับประทานอาหาร การเปิดรับสื่อมวลขนพบว่า โทรทัศน์คือสื่อมวลชนที่เปิดรับมากที่สุด รองลงมาคือหนังสือพิมพ์และวิทยุตามลำดับ ก่อนเสพโดยรวมมีความพึงพอใจกับชีวิตของตนหลังเสพจนติดแล้ว ทำให้เสียใจกับพฤติกรรมของตนที่ก่อความเดือดร้อน ทำให้พ่อแม่เสียใจ ผิดหวัง และเสียอนาคต เป้าหมายในชีวิตและการพัฒนาตนเอง โดยรวมมีความหวังและใฝ่ฝันแต่ไม่ได้มีการพัฒนาตนเองให้ความหวังเป็นจริงส่วนหนึ่งของอุปสรรคคือยาบ้า 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดพฤติกรรมการเสพยาบ้า ปัจจัยนำ ได้แก่ สภาพปัญหาครอบครัว ความเข้าใจ และความรู้สึกนิกคิดที่ผิดและการมีความรู้เกี่ยวกับยาบ้าน้อย ปัจจัยเอื้ออานวยได้แก่ สภาพการณ์ที่อยู่ใกล้กับยาบ้า การเข้าไปเกี่ยวข้องกับผู้เสพผู้ขายผู้ผลิตยาบ้าและการขาดความเชื่อถือศรัทธาต่อขบวนการปราบปรามยาบ้า ปัจจัยเสริม แรงได้แก่ปัจจัยเสริมแรงจากทั้งสื่อมวลชน สื่อบุคคลและสื่อเฉพาะกิจโดยมีทั้งแรงเสริมด้านบวกและลบ 3. พฤติกรรมการเสพยาบ้า ส่วนใหญ่เริ่มใช้ยาบ้าเมื่ออายุตํ่ากว่า 18 ปี และเคยใช้ยาเสพติดชนิดอื่น ๆ มาก่อนได้แก่ บุหรี่ สารระเหย กัญชา และเฮโรอีน จุดเริ่มต้นและการรู้จักกับยาบ้าแบ่งเป็นจากภายในบ้าน แถวบ้าน จากโรงเรียนและที่ทำงานทั้งนี้โดยอาศัยการเรียนรู้จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับยาบ้า การซื้อขายและที่มาของยาบ้ามาจาก 3 แหล่งคือ จากเพื่อน ผู้ขายรายย่อย และผู้ขายรายใหญ่ วิธีการเสพพบได้ 4 วิธี คือ การดูดควันระเหยพบมากที่สุด สูบ กิน และฉีด ปริมาณและความถี่ขึ้นกับวิธีการเสพ สถานที่เสพจะพยายามหาที่ปกปิดมิดชิดมากที่สุด การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังเสพติดยาบ้า ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพร่างกาย, ด้านพฤติกรรมสังคม,ด้านนิสัย อารมณ์และความประพฤติและด้านจิตประสาททั้งนี้จะมากน้อยขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาที่เสพยาบ้าผ่านมา |
Other Abstract: | The objective of this qualitative research is to study life conditions of amphetamine addicted and factors associated with amphetamine addiction. Indepth interview of amphetamine addicted who come for treatment in Thanyarak Hospital (12 cases) and prisoners in male and female narcotic addicts prisons (18 cases) was the method of data collection. The study found that amphetamine addicted are of different ages (between 14 to 38 years old ), different occupation namely student, truck driver, laborer, night worker, business employee,self employed and unemployed. They belong to all socio-ecconomic classes and hold differrent levels of education. Most of them are single with poor relationship with family members. Parents status are mostly are divorced and widowed. They lived in home, flat and overcrowded community. Before turning an amphetamine addicted, all of them were healthy and satisfied with their lives. After that, all of them experienced illnesses. change in resting and eating habits. They felt guilty from disappointment of their parents toward their failure in education. Many of them do carry hope and dream but never tried to make them come true. Amphetamine addiction is the main obstruction. There are Three factors associated with Amphetamine Addiction. Predisposing factors such as family prombiems, misunderstanding and having wrong concepts of amphetamine. Enabling factors such as the lack of trust in the police 1 persuasion from drug agents and availability of amphetamine. And reforcing factors, both positive and negative reinforcement of mass media, friends, family members, teachers, health agents and drug control agencies and also anti-amphetamine campaign in the forms slogan. television and radio spots. Most of amphetamine addicted used amphetamine before eighteen years old and used other narcotic drugs before amphetamine addiction namely cigarette. inhaled substance, hemp and heroin. The first starts of amphetamine trial are at home, neighborhood, school and work place. Then learned about amphetamine from local drug agents. Usage methods are eating, smoking, injection and both sucking smoke through and without water. Frequency and quantity of the substance are vaned. They used durgs in both private and concealment. After amphetamine addiction, they experienced health , physical , social behavior, habit, emotional and neuro-psychological change. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71545 |
ISBN: | 9746384368 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Ratthapon_in_front.pdf | หน้าปกและบทคัดย่อ | 414.11 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch1.pdf | บทที่ 1 | 873.79 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch2.pdf | บทที่ 2 | 2.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch3.pdf | บทที่ 3 | 395.48 kB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch4.pdf | บทที่ 4 | 3.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch5.pdf | บทที่ 5 | 3.44 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch6.pdf | บทที่ 6 | 1.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_ch7.pdf | บทที่ 7 | 2.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Ratthapon_in_back.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 649.13 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.