Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71910
Title: การศึกษาโครงข่ายการขนส่งที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโต ของเทศบาลเมืองสระบุรี
Other Titles: Transport network influencing the urban growth of Saraburi Municipality
Authors: อาษา ทองธรรมชาติ
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: เมือง -- การเจริญเติบโต
การเกิดเป็นเมือง
การขนส่ง -- ไทย -- สระบุรี
เทศบาลเมืองสระบุรี
สระบุรี -- ภาวะสังคม
สระบุรี -- ภาวะเศรษฐกิจ
สระบุรี -- ประชากร
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายหลักของการศึกษาเพื่อปรับปรุงให้เทศบาลเมืองสระบุรีเป็นชุมชนศูนย์กลาง ในการให้บริการด้านการค้า-บริการ และที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับการเติบโตจากการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเกิดขึ้นตามแผนพัฒนาภาคกลางตอนบนผลการวิเคราะห์สรุปว่า เทศบาลเมืองสระบุรีเป็นชุมทางเชื่อมโยงการขนส่งทางบกระหว่างภาคเหนือตะวันออกเฉียงเหนือ กรุงเทพฯ และมีศักยภาพที่สามารถพัฒนาเชื่อมโยงกับพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก และอินโดจีนได้ นอกจากนี้พื้นที่ภายในรัศมีประมาณ 30 กิโลเมตร ยังมีแหล่งอุตสาหกรรมที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วตั้งอยู่ สภาพการเติบโตทางกายภาพของเทศบาลเมืองสระบุรีนั้นเกิดจากความได้เปรียบในทำเลที่ตั้ง และ สภาพการใช้ที่ดินเติบโตไปตามโครงข่ายถนนมากที่สุด โดยมีพื้นที่ปลูกสร้างขยายไปตามถนนสายหลักสำคัญซึ่ง ได้แก่ ถนนพหลโยธินที่มีอิทธิพลต่อการเติบโตของเมืองมากที่สุด รองลงมาคือ ถนนสุดบรรทัด พิชัยรณรงค์ สงคราม มิตรภาพ และทางเลี่ยงเมือง ส่วนราคาที่ดินพบว่ามีความสัมพันธ์กับโครงข่ายถนน และยังพบว่า ธุรกิจการค้าของเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว กิจกรรมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ อย่างเช่น ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ธนาคาร สถาบันการเงิน และการประกันภัย เป็นต้น โดยพบว่ากิจการเหล่านี้เติบโตควบคู่ไปกับการขยายตัวของอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และรายได้ของประชากรในจังหวัด ซึ้งการเติบโตของเมืองดังกล่าว ก่อให้เกิดแรงดึงดูดประชากรต่างถิ่นอพยพให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเทศบาลเมืองสระบุรีและบริเวณที่สามารถเชื่อมโยงกับย่านอุตสาหกรรมได้สะดวก ทำให้มีประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
ในการศึกษานี้ ได้เสนอข้อแนะนำไว้ 3 ระดับคือ ระดับภาค เสนอให้มีการตัดเส้นทางรถยนต์เชื่อมโยง ระหว่างสระบุรีกับพื้นที่พัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกโดยตรง และเร่งรัดการพัฒนาเส้นทางในแนวตะวันออก-ตะวันตกของภาคกลางตอนบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมโยงตามนโยบายของรัฐ และระดับจังหวัด เสนอแนะให้มีการปรับปรุงตัดเส้นทางถนนเชื่อมโยงระหว่างชุมชนสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่รอบเทศบาลเมืองสระบุรีให้สามารถติดต่อกันได้โดยตรง ซึ่งจะช่วยหลีกเลี่ยงการเชื่อมโยงผ่านเทศบาลเมืองสระบุรี พร้อมกับเสนอแนะให้มีการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรับส่งผู้โดยสารทั้งทางรถยนต์ รถไฟ และทางน้ำจากย่านชุมชนรอบนอกและย่านอุตสาหกรรมที่เข้ามาใช้บริการในเทศบาลเมืองสระบุรี และในระดับเมือง เสนอแนะให้มีการตัดเส้นทางใหม่ ๆ และพัฒนาบริการสาธารณะเข้าไปสู่บริเวณที่ว่างที่อยู่ในเขตเทศบาลเพื่อเป็นการชี้นำให้เกิดการพัฒนาที่ว่างดัง กล่าว และเสนอผังชี้นำการใช้ที่ดินของชุมชนเมืองสระบุรีเพื่อให้รองรับประชากรและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น และเสนอแนะให้มีศูนย์กลางย่อย 2 แห่ง สำหรับรองรับการบริการให้แก่ประชากรชานเมืองและชุมชนรอบนอก เพื่อมีหน้าที่ในการแบ่งเบาภาระแก่ย่านใจกลางเมืองในอนาคต พร้อมทั้งเสนอแนะมาตรการควบคุมสภาพการใช้ ที่ดินเพื่อป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น จึงคาดว่าข้อเสนอแนะดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทศบาลเมืองสระบุรีได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
Other Abstract: The principle aim of this study is to improve Saraburi Municipality to be the center of the Upper Central region in order to support the industrial development policy of the Upper Central Region Development Plan in the Seventh National Economic and Social Development Plan. According to the analyses, it can be summarized that Saraburi Municipality is a transportation node among the Northern, Northeastern and Bangkok as well as a potential link in development between the Eastern Seaboard and Indochina. Furthermore, industries extend rapidly within redius of 30 km. The advantage of the location induces physical growth of Saraburi Municipality. Land use growth mostly along the road network i.e. built-up areas extending along main roads. The most influential is Phahon Yothin road, Sudbantad road, Phichai Ronnarongsongkram road, Mittaparp road and the Bypass road, respectively. Land prices relate to the road network and hierarchy. The extension of commercial area is very fast as well as economic activities for example department stores, hotels, banking, finance, industrial growth, infrastructure, transportation and the income of population in Saraburi province is also increasing relatively. Such kinds of growth lead the migration to Saraburi Municipality continuausly. The 3 suggestions of this study are 1) Regional Level, new road should be constructed for linkages between Saraburi Province and the Eastern Seaboard and East-West transportation development should be undertaken to improve network efficiency. 2) Provincial Level, the improvement and construction of ring road pattern which link major communities around Saraburi Municipality in order to avoid the passing through traffic in Saraburi municipal area. The Mass transit development should be considered not only by constructing roads but also railways and water transportation from outside communities and industrial areas into Saraburi Municipality. 3) Urban Level, new roads to the vacant areas should be constructed in order to develop linkages. Land use guideline planning of the Municipality is suggested to support the increasing of population and activities. Two sub-centers are proposed for central places to sub-urban population and outside communities in order to release the central bussiness district (CBD) in the future. Measures for land use control are proposed in order to prevent environmental problems. Finally, it is expected that such suggestions will be useful for Saraburi Municipality to be developed more sustainable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาคและเมือง
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71910
ISBN: 9746311794
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Asa_th_front_p.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch1_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch2_p.pdf2.61 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch3_p.pdf7.17 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch4_p.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch5_p.pdf7.95 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_ch6_p.pdf4.26 MBAdobe PDFView/Open
Asa_th_back_p.pdf9.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.