Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71651
Title: | การวิเคราะห์การจัดสรรงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Analysis of budget allocation for environmental development and natural resource conservation |
Authors: | อมรรัตน์ ศรัณยกษิติน |
Advisors: | นวลน้อย ตรีรัตน์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ นโยบายสิ่งแวดล้อม งบประมาณ สิ่งแวดล้อม มลพิษ การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอข้อมูลหรือฐานข้อมูล (data base) และโครงสร้างของงบประมาณ ด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อม โครงสร้างของเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมและศึกษาการสนองตอบของงบประมาณกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นสาเหตุ ของปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงเงื่อนไขและปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาการกำหนดงบประมาณในอนาคต จากการรวบรวมข้อมูลงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 4 ด้าน คือ ทรัพยากรป่าไม้ ดินและน้ำ ทรัพยากรประมง ในช่วงพ.ศ. 2520-2536 พบว่ามีเพียง 249.57 ล้านบาทในปี 2520 และเพิ่มเป็น 4,079.55 ล้านบาทในปี 2536 ซึ่งมีไม่ถึงร้อยละ 1 ของ GDP โดยงบประมาณมากกว่าครึ่งของแต่ละปีจะเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ส่วนงบประมาณด้านการประมงมีสัดส่วนน้อยที่สุด ในขณะที่การอนุรักษ์ทรัพยากรดินและน้ำยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก งบประมาณด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมในช่วงที่ศึกษาพบว่าอยู่ในระดับตํ่าเช่นกันเพราะมีไม่ถึงร้อยละ 1 ของGDP ถึงแม้ว่าในปี 2536 จะมีงบประมาณมากสุดคือ 5,716.85 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก ปี 2520 ซึ่งมีเพียง 58.75 ล้านบาท เมื่อแยกงบประมาณตามชนิดมลพิษพบว่ามลพิษทางน้ำมีอัตราส่วนมากสุดเมื่อเทียบกับงบประมาณด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม เงินช่วยเหลือจากต่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อมมีอัตราสูงในช่วงปี 2532-2533 แต่มีแนวโน้มที่ลดลงเพราะประเทศไทยเริ่มมีฐานะทางการเงินที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบงบประมาณด้านสิ่งแวดล้อมต่อ GDP กับประเทศพัฒนาแล้วเช่น อเมริกา เยอรมันพบว่างบประมาณของไทยอยู่ในอัตราที่ตํ่ากว่ามากแต่เมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนาเช่น ฟิลิปปินส์ พบว่างบประมาณของไทยมีอัตราที่สูงกว่า ผลการศึกษาด้านการตอบสนองของงบประมาณกับตัวแปรทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่เลือกมาคือ GD, ประชากร, รายได้จากการท่องเที่ยว, พื้นที่ป่าไม้และจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าการจัดสรรงบประมาณ ทั้งสองด้านสนองตอบต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ดังนั้นในการจัดสรรงบประมาณด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาสิ่งแวดล้อมควรนำปัจจัยดังกล่าวมาพิจารณาด้วย |
Other Abstract: | The objective of this study is to analyse the structure of government budget and foreign aid on natural resource reservation and environmental development during 1977-93. The study also investigates socio-economic factors determining government budget on natural resources and environment. Budget on natural resource reservation, such as forest, soil, water and fisheries, was only 249 57 million baht in 1977 and increased to 4,079.55 million baht in 1993 which was less than 1 per cent of GDP. The share of budget on forest reservation was the largest, accounting for more than 50 per cent of the total budget on natural resource reservation. The share of budget on environmental development in GDP during the study period was also less than 1 percent. In 1977 budget was 58.75 million baht and increased to 5,716.85 million baht in 1993. The share of budget on water pollution in total budget allocated on environmental development was the largest. Foreign aid on environment decreased form 302.34 million baht in 1991 to 108.82 million baht in 1993. This aid tended to decline in 1990s because Thailand per capita income increased considerably. The study compare the ratio of budget allocated for natural resource reservation and environmental development to GDP in several countries. It indicated that the ratio of Thailand was much less than the developed countries such as USA, Germany and Singapore but higher than the developing countries, such as Philippine. The study shows that government budget on natural resource and environmental development depended on the socio-economic factors, such as GDP, population, income from foreign tourists, forest areas and the number of industrial factories, significantly. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71651 |
ISBN: | 9746331299 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amornrat_sa_front_p.pdf | 962.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_ch1_p.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_ch2_p.pdf | 3.5 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_ch3_p.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_ch4_p.pdf | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_ch5_p.pdf | 957.39 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amornrat_sa_back_p.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.