Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66264
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์-
dc.contributor.advisorสุชาติ ตันธนะเดชา-
dc.contributor.authorดาวระดา ธรธรรม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-10T07:38:11Z-
dc.date.available2020-06-10T07:38:11Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.issn9745318175-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66264-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ 2) พัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการของบัณทิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 3) ตรวจสอบระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการของบัณทิตวิทยาลัย การดำเนินงานวิจัย มี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การพัฒนาระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการของบัณทิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ทำโดย วิเคราะห์แนวคิดทฤษฎีด้านการบริหารงานวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ จาก Internet ตำรา เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ พร้อมขอบข่ายการบริหารงานวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือทบวงมหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ สถาบันอุดมศึกษา ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาไทย พันธกิจ ภารกิจ และหน้าที่ของบัณฑิตวิทยาลัยที่เป็นกลุ่มประชากรทั้ง 15 แห่ง และองค์ประกอบระบบ พัฒนาและประกันคุณภาพหลักสูตรบัณฑิตศึกษา (GSA) ของบัณทิตวิทยาลัย ได้ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ แล้วนำมาวิเคราะห์กับรายการองค์ประกอบ แนวคิดเกี่ยวกับระบบคุณภาพ การปรับปรุงคุณภาพ เกณฑ์บ่งชี้คุณภาพ 9 ด้าน สำหรับสถาบันอุดมศึกษาไทย และแนวทางการเข้าสู่ระบบรางวัลคุณภาพแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (Malcom Baldrige National Quality Award : MBNQA) 7 ด้าน ได้ (ร่าง) รายการระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงาน'วิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์รายการที่ได้มาจากขั้นตอน 1 กับแนวความคิดเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ (Indicators) ตัวบ่งชี้การบริหารงานวิชาการ ดัชนีบ่งชี้คุณภาพการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและวัฏจักรวงจรเดมมิ่ง (Demming Cycle) เพื่อสร้างร่างตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการ ได้ (ร่าง) ตัว บ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูล ที่ได้ทั้งหมด มาพิจารณาเนื้อหาสาระที่สำคัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการ เพื่อกำหนดข้อคำถามในแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการ แล้วทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่เป็นกลุ่มประชากร ทั้ง 15 แห่ง และส่งแบบสอบถามตัวบ่งชี้ที่สร้างขั้นไปยังเจ้าที่บัณฑิตวิทยาลัยทุกคนตอบ แบบสอบถาม นำคำตอบที่กลับมา ตัดเลือกตัวแปรที่เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS / W 12.0 for windows ได้ตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหาร งานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐที่สมบูรณ์ หลังจากขั้น นำระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการที่พัฒนาขั้น ให้อาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้บริหารระดับสูงของบัณฑิตวิทยาลัย ทั้ง 15 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ร่วมกันพิจารณาตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของระบบ ก่อนนำไปทดลองใช้ ท้ายที่สุดนำระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการที่เสร็จสมบูรณ์ ทดลองใช้ที่บัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ 1 แห่ง โดยใช้แนวทางการปฏิบัติของวัฏจักรวงจรเดมมิ่ง คือ Plan Do Check Action : PDCA ได้ระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐที่สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีจำนวน 11 ด้าน และระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีองค์ประกอบ 11 ปัจจัย ได้แก่ปัจจัยนำเข้า 5 ปัจจัย ปัจจัยกระบวนการ 5 ปัจจัย และปัจจัยผลลัพธ์ 1 ปัจจัย 2) ตัวบ่งชี้คุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ เพื่อใช้ในการอธิบายขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ และเป็นองค์ประกอบภายในระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีจำนวน 55 ตัวบ่งชี้ 3) ผลการตรวจสอบระบบคุณภาพการบริหารงาน วิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบคุณภาพและผู้บริหารระดับสูงของบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ และการนำระบบไปทดลองใช้ พบว่าระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐ ที่ได้ทำการพัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในบัณฑิตวิทยาลัยทั่วไป-
dc.description.abstractalternativeThe propose of this research were 1) To develop “ the Development of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University.” 2) To develop “the Indicator Quality Management System of the Graduate School in the Public University.” 3) To investigate the Development of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University. The survey was conducted on 3 steps 1) The development of Academic Quality Management System was done by analyzing the concept of Academic Management both in Thailand and abroad, frame of Academic Management, vision, mission, authority of the Graduate School in the fifteen Public University and list of composite concept of quality system, quality improvement, 9 indicators of the office of Higher Education, and 7 items of Malcom Baldrige National Quality Award : MBNQA of the USA. 2) The development of the Indicator Quality Management System of the Graduate School in the Public University was done by analyzing the result from the step one and concept of indicator, Academic indicator, quality indicator of the office of Higher Education, and also Demming Cycle 3) To investigate the Development of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University was done by checking from the quality system expert and the top management of the Graduate School in the fifteen Public University The findings of the survey from fifteen Public Universities by interviewing the top management, getting the questionnaires answered by all staff of population sampling selected Graduate School of the Public University both in Bangkok and Provincial Areas and analyzed the factor to find the Academic Quality Management System indicators of the Graduate School in the Public University by running SPSS 12.0 for Windows all summarized as followed:- 1) The results of the research showed that the frame of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University consisted of 11 composites. The variables related of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University consisted of 11 total composites such as 5 Input, 5 process and 1 Output 2) The composite indicators of the Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University for explaining 11 composites of the frame of Academic Management consisted of 55 indicators. 3) To investigate the Development of Academic Quality Management System of the Graduate School in the Public University found that the Quality System was suitable for applying in the general Graduate School.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2004.775-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectคุณภาพทางวิชาการen_US
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การบริหารen_US
dc.subjectQuality controlen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Administrationen_US
dc.subjectUniversities and colleges -- Graduate worken_US
dc.titleการพัฒนาระบบคุณภาพการบริหารงานวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยของรัฐen_US
dc.title.alternativeA development of academic quality management system of the graduate school in the public universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineอุดมศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPansak.P@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSuchart.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2004.775-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Daorada_to_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.06 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_ch1_p.pdfบทที่ 11.74 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_ch2_p.pdfบทที่ 25.09 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_ch3_p.pdfบทที่ 31.84 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_ch4_p.pdfบทที่ 45.19 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_ch5_p.pdfบทที่ 51.61 MBAdobe PDFView/Open
Daorada_to_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก6.93 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.