Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68009
Title: นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟัน ที่มีสารป้องกันฟันผุจากสารสกัดเปลือกทุเรียน
Other Titles: Product innovation of dental floss incorporating durian hulls extract for caries protection
Authors: กาญจนา อริยะวัชรินทร์
Advisors: กนกทิพย์ บุญเกิด
อัจฉรา จันทร์ฉาย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Kanoktip.B@Chula.ac.th
Achara.C@Chula.ac.th
Subjects: ทุเรียน
ผลิตภัณฑ์พลอยได้
โพลิแซ็กคาไรด์
เส้นใยขัดฟัน
Durians
Waste products
Polysaccharides
Dental floss
Issue Date: 2552
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันต้นแบบที่มีสารป้องกันฟันผุจากสารสกัดเปลือกทุเรียนและศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 4 ส่วนดังนี้ การสำรวจการยอมรับต่อแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ การทดสอบตลาดกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน และการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกสู่เชิงพาณิชย์ ผลจากการสำรวจการยอมรับของผู้บริโภคต่อแนวความคิดของผลิตภัณฑ์ก่อนที่จะทำการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ พบว่า ร้อยละ 86.3 ของผู้บริโภค ให้การยอมรับในผลิตภัณฑ์นี้ หลังจากนั้นจึงทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบขึ้น โดยการทำการศึกษาความเข้มข้นของสารพอลิแซคคาไรด์ (PG) และสภาวะที่เหมาะสมในกระบวนการเคลือบสาร PG บนเส้นไหม โดยทำการศึกษาความเข้มข้นของสารละลาย PG ตั้งแต่ 4-8% พบว่าเมื่อพิจารณาปริมาณ PG ที่เคลือบอยู่บนเส้นไหม ความเข้มข้นของสารละลาย PG ที่ดีที่สุด คือ 6% ในน้ำกลั่น อย่างไรก็ตามเส้นไหมที่ได้ในขั้นต้นมีลักษณะแข็ง และสาร PG ที่เคลือบบนเส้นไหมจะมีลักษณะเปราะและหลุดจากเส้นไหมได้ง่าย จึงจำเป็นต้องเติมกลีเซอรอลเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น มีอัตราส่วนระหว่างน้ำกลั่นต่อกลีเซอรอลที่ใช้ดังนี้ 90:10 80:20 และ 70:30 การใช้กลีเซอรอลที่สัดส่วนสูงกว่า 30 จะทำให้ PG ไม่สามารถละลายได้ โดยอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดอยู่ที่ 90:10 สำหรับสภาวะที่ใช้ในกระบวนการเคลือบเส้นไหมอย่างต่อเนื่องซึ่งดัดแปลงโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากกระบวนการเคลือบแบบแบทช คือ ใช้เวลา 2 นาทีในขั้นตอนการเคลือบ และ 3 นาทีในขั้นตอนการอบเส้นไหมให้แห้ง โดยให้ลมร้อนที่อุณหภูมิ 70°C ผลการทดสอบการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus mutans ของไหมขัดฟันต้นแบบเทียบกับไหมขัดฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดที่มีสารฟลูออไรด์และไหมขัดฟันที่ไม่เคลือบแว็กซ์ พบว่าไหมขัดฟันต้นแบบสามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ 99% ในขณะที่ไหมขัดฟันที่มีจำหน่ายในท้องตลาดและไหมขัดฟันที่ไม่เคลือบแว็กซ์ไม่สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้ (0%) จากการทดสอบการใช้งานผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยกลุ่มตัวอย่างจำนวน 20 คน พบว่า ระดับคะแนนความพอใจในคุณลักษณะภายนอกและระดับคะแนนความพอใจในประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3.48 และ 3.41 จากคะแนนเต็ม 5 ตามลำดับ โดยร้อยละ 90 ของกลุ่มตัวอย่างสนใจที่จะซื้อผลิตภัณฑ์นี้หากมีการวางจำหน่าย ซึ่งผลที่ได้ข้างต้นบ่งชี้ว่าการนำเอานวัตกรรมผลิตภัณฑ์นี้ออกสู่เชิงพาณิชย์มีความเป็นไปได้ และจากการศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านการตลาด การผลิต และการเงิน พบว่าผลิตภัณฑ์นี้มีโอกาสในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากผลการวิเคราะห์ทางการเงิน เมื่อกำหนดอัตราการเติบโตประมาณ 5% ต่อปี ที่อายุโครงการ 5 ปี ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้น 600,000 บาท พบว่า จะมีระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 4 ปี 2 เดือน โดยค่าปัจจุบันสุทธิที่ได้จากการลงทุนเท่ากับ 1,676.16 บาท และอัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจากการลงทุนเท่ากับ 11.1% สำหรับการวางแผนกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ ผู้วิจัยได้เสนอให้ออกผลิตภัณฑ์สู่ตลาดภายใต้สโลแกนที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ไหมขัดฟันที่ใช้สารป้องกันฟันผุจากธรรมชาติที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของฟันผุสูง และผลที่ได้จากการสำรวจตลาด จึงควรกำหนดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายหลักอยู่ในช่วงอายุ 21-30 ปี เนื่องจากกลุ่มนี้มีความสนใจในผลิตภัณฑ์นี้มากที่สุด
Other Abstract: The purposes of this research were to develop the prototype of dental floss incorporating durian hulls extract for caries protection and to study its feasibility. The study was divided into 4 parts as surveying product concept acceptance from a sample group of 400 consumers by using questionnaires, developing the prototype, market testing with a sample group of 20 consumers and studying commercialization feasibility. Result from the survey of product concept acceptance before development of the prototype show that 86.3% of consumers were interested in this product. After that, the suitable polysaccharide (PG) concentration and proper coating process were studied. Within the range of 4-8% of PG in distilled water, the concentration of 6% PG solution was the best concentration based on the optimum of PG coated on dental floss. However, the first generation of product was rigid and the PG coated on dental floss was also brittle. Thus, glycerol (plasticizer) was needed to enhance the flexibility. The ratios of glycerol (plasticizer) to distilled water were varied from 10:90, 20:80, and 30:70. The higher ratio could not be used due to the poor dissolution of PG in the mixture. The best ratio was 10:90. The suitable continuous process adopted from the result of batch process was 2 min for the coating step and 3 min for the drying step at 70 °C. The result of the antimicrobial activities testing against Streptococcus mutans showed that antimicrobial activities of dental floss incorporating with PG was 99%, while those of fluoride dental floss and unwaxed nylon dental floss w ere 0%. The result of the trial testing on the prototype showed that the level of consumer satisfaction on appearance and capability was 3.48 and 3.41 out of 5, respectively. Moreover, the 90% of 20 sampling customers were interested in purchasing this product when the products are launched. This indicated that there was the possibility to bring this innovative product to the commercial. According to the market places, it was indicated this product had an opportunity to commercialization because the financial analysis for 5 years showed that when growth rate was at 5% yearly with the investment of 600,000 baht the pay back period was at 4.2 years with 1,676.16 baht NPV and 11.1% IRR. For the product strategic planning, the product was proposed to market under the “The dental floss with the high efficient anti-cavity natural substance” slogan. Finally the result of the market survey indicated that the product should be promoted to a group of consumers aged 21-30 because this group showed the highest intention on this product.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68009
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana_ar_front_p.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch1_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch2_p.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch3_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch4_p.pdf908.22 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch5_p.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch6_p.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch7_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch8_p.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch9_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_ch10_p.pdf834.76 kBAdobe PDFView/Open
Kanjana_ar_back_p.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.