Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68233
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉันทนา บรรพศิริโชติ-
dc.contributor.authorชุติมา สุมน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-09-28T07:25:23Z-
dc.date.available2020-09-28T07:25:23Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9743317988-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/68233-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ บทบาท และกระบวนการผลักดัน ของกลุ่มพลังประชาธิปไตยในการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และการตัดสินใจรับเอาข้อเรียกร้องในการปฏิรูปการเมืองเป็นนโยบายของรัฐบาล ในช่วงปี พ.ศ. 2536 - 2538 มีสมมติฐานการศึกษา ว่า กลุ่มพลังประชาธิปไตยแสดงบทบาทโดยการระดมพลังมวลชน และสร้างจิตสำนึกร่วมของสังคม เพื่อให้รัฐเห็นความสำคัญของปัญหาปฏิรูปการเมือง และใช้วิธีการกดดันทางการเมือง เพื่อให้การจัดทำนโยบายสอดคล้องกับความเห็นของกลุ่ม และให้มีการประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลในที่สุด ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของกลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคมที่มีบทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองนั้นประกอบไปด้วยบุคคล/กลุ่มบุคคลสามประเภทด้วยกัน คือ 1) ปัจเจกบุคคล 2) กลุ่ม/องค์กรที่สนใจประชาธิปไตยและการเมือง และ 3) ชุมชนวิชาการ ซึ่งมีลักษณะการรวมตัวกันในการผลักดันอย่างหลวมๆ ไม่ถาวร และเป็นความร่วมมือกันในแนวราบ กลุ่มพลังประชาธิปไตยได้แสดงบทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมืองตั้งแต่การจุดประเด็นปัญหา ข้อเรียกร้องให้มีการแก้ไขและยกร่างรัฐธรรมนูญ การกดดันสังคมการเมืองโดยการให้ความรู้กับสาธารณะ การเข้าพบบุคคลสำคัญของฝ่ายสังคมการเมือง การระดมพลังมวลชนพลังความคิดและความเห็นพ้อง การใช้สื่อในการเผยแพร่ ซึ่งไม่มีแบบแผนที่แน่นอนในแต่ละช่วงของการกำหนดนโยบาย ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมืองและประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบการทำงานของภาครัฐตลอดจนผลักดันข้อเรียกร้องและข้อเสนอนโยบาย ปฏิรูปการเมืองให้เข้าสู่ความสนใจรวมทั้งเร่งการตัดสินใจจากภาครัฐ ส่งผลให้รัฐบาลต้องตัดสินใจ กำหนดนโยบายการปฏิรูปการเมืองเพื่อลดแรงกดดันจากภาคประชาสังคม โดยการตั้งคณะกรรมการ พัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และกำหนดนโยบายปฏิรูปการเมือง โดยการตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) ในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา-
dc.description.abstractalternativeThis study analyzes the characteristics, roles and pressure exerted by democracy - oriented groups in demanding political reform during 1993-1995 until its adoption as government policy. It hypothesized that democracy - oriented groups used mass mobilization and the creation of collective conscious ness in society to make the state see the importance of political reform, and used political pressure so as to ensure the adoption of policy which was in keeping with their wishes. The study found that the democracy-oriented groups in civil society included 1) individuals 2) groups / organizations concerned about politic and democracy and 3) think - tanks. They formed a loose and impermanent coalition in a cooperative endeavour on the basis of horizontal relationships. These played roles in exerting pressure for political reform from the stage of problem identification through to the stage of political formulation to draft the country's constitution anew. They exerted pressure on political society by providing information to the public through the media, by lobbying political society actors, by mobilizing mass opinion and concurrence. All this had no specific pattern but depended on the political situation and the government's work efficiency. However, all these methods aimed at scrutiny of government and at making demands and policy recommendations such that they were adopted by the government. The result was that successive governments had to adopt a policy of political reform so as to reduce civil society pressure by appointing the Committee to Develop Democracy (CDD) during the Chuan Leekpai government and by appointing the Political Reform Committee (PRC) during the Banharn silpa-archa government.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectประชาสังคม-
dc.subjectการปฏิรูปการเมือง-
dc.subjectการมีส่วนร่วมทางการเมือง-
dc.titleกลุ่มพลังประชาธิปไตยในประชาสังคม : บทบาทในการผลักดันนโยบายปฏิรูปการเมือง พ.ศ. 2536-2538-
dc.title.alternativeDemocracy-oriented groups in the civil society : roles in pressuring for the political reform policy, 1993-1995-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameรัฐศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการปกครอง-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutima_su_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ871.5 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch1_p.pdfบทที่ 1970.99 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch2_p.pdfบทที่ 22.11 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch3_p.pdfบทที่ 32.53 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.26 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch5_p.pdfบทที่ 52.23 MBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_ch6_p.pdfบทที่ 6938.88 kBAdobe PDFView/Open
Chutima_su_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.48 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.