Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69166
Title: การเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการบริหารรัฐกิจ : บทสำรวจสถานภาพในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของระบบราชการพลเรือนไทย
Other Titles: Changes of public administration model : state of the art and trends of the Thai civil service system
Authors: ศรีรัฐ โกวงศ์
Advisors: ทศพร ศิริสัมพันธ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
การบริหารรัฐกิจ -- ไทย
ระบบราชการ -- ไทย
ราชการพลเรือน -- ไทย
Public administration -- Thailand
Bureaucracy -- Thailand
Civil service -- Thailand
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาวิจัยนี้มีสมมติฐานว่าระบบราชการพลเรือนไทยมีลักษณะและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงรูปแบบทางการบริหารรัฐกิจจากรูปแบบดั้งเดิมเป็นรูปแบบการตลาดและ/หรือรูปแบบการมีส่วนร่วม วัตถุประสงค์ของการวิจัยในเรื่องนี้เพื่อศึกษาถึงสถานภาพในปัจจุบันของระบบราชการพลเรือนไทยว่ายังคงมีลักษณะรูปแบบบริหารรัฐกิจแบบดั้งเดิมหรือไม่ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะมีลักษณะและแนวโน้มในอนาคตเป็นรูปแบบการตลาดและ/หรือรูปแบบการมีส่วนร่วม และเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ในการศึกษานี้จะศึกษาวิจัยถึงรูปแบบการบริหารรัฐกิจในระบบราชการพลเรือนไทยเท่านั้นโดยอาศัยวิธีการดังนี้คือ การวจัยเอกสารในส่วนที่เป็นทฤษฎีแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารรัฐกิจในระบบราชการพลเรือน และการวิจัยภาคสนามซึ่งแบ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณในส่วนที่เป็นการสำรวจสถานภาพในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต โดยการทอดแบบสอบถามเฉพาะกับผู้อำนวยการกองแผนงาน หรือผู้อำนวยการกองเจ้าหน้าที่ หรือเลขานุการกรมของหน่วยงานราชการพลเรือนในระดับกรมทั้งหมด ซึ่งมีตัวชี้วัดหลักรวม 24 ตัวและสถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน นอกจากนี้ ยังใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษาโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงหน่วยงานในระดับกรมได้แก่ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม โดยจะอาศัยการวิจัยเชิงพรรณนาและการวิจัยเอกสารเพื่อให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารรัฐกิจดังกล่าวได้ชัดเจนในรายละเอียดมากขึ้น ผลการศึกษาในส่วนที่เป็นการสำรวจสถานภาพในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารรัฐกิจของระบบราชการพลเรือนไทยพบว่าระบบราชการพลเรือนไทยได้มีการการเปลี่ยนแปลงและมีแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบการบริหารรัฐกิจจากรูปแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบการตลาดและรูปแบบการมีส่วนร่วมโดยมีลักษระเป็นไปตามแนวคิดการจัดการนิยม แนวคิดทางรัฐศาสตร์และแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ ตามลำดับ ส่วนผลการศึกษาในส่วนที่เป็นกรณีศึกษาพบว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิมไปสู่รูปแบบการตลาดและรูปแบบการมีส่วนร่วมอย่างเห็นได้ชัด โดยมีการแยกงานเชิงนโยบายออกจากงานให้บริการและให้ภาคธุรกิจเอกชนและ/หรือภาคประชาชนและชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานให้บริการแทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และมีการปรับปรุงสมรรถนะในการผลิตและส่งมอบบริการสาธารณะของกรม โดยนำมาตรการที่อิงกับแนวคิดและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ ผลจากการศึกษาครั้งนี้มีประโยชน์ในการศึกษาถึงสถานภาพในปัจจุบันละแนวโน้มในอนาคตของรูปแบบการบริหารรัฐกิจในระบบราชการพลเรือนไทยซึ่งไม่เคยมีการวิจัยเชิงประจักษ์เกี่ยวกับเองนี้มาก่อน อย่างไรก็ตาม การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าในปัจจุบันระบบราชการพลเรือนไทยยังคงมีค่านิยมแบบเจ้าขุนมูลนายตามระบบอำมาตยาธิปไตย กล่าวคือ ยังคงขาดความรับผิดชอบต่อสาธารณชน ไม่ยอมรับการควบคุมตรวจสอบจากสถาบันนอกระบบราชการพลเรือน และพยายามอนุรักษ์บทบาทการเป็นสถาบันหลักในการผลิตและส่งมอบบริการสาธารณะ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะบางประการคือ ประการแรก การปฏิรูประบบราชการพลเรือนไทยจะต้องทำควบคู่ไปกับการปฏิรูปการเมืองการปฏิรูปการศึกษา การปฏิรูประบบการจัดการบริหารปกครองในภาคธุรกิจเอกชน และการพัฒนาชุมชน ประการที่สอง การปฏิรูประบบราชการพลเรือนไทยต้องมีการเสริมสร้างวัฒนธรรมการเป็นผู้ประกอบการและวัฒนธรรมวิชาชีพนิยมให้เป็นวัฒนธรรมหลักทางการบริหารรัฐกิจแทนวัฒนธรรมเจ้าขุนมูลนาย ประการที่สามในการประยุกต์ใช้มาตรการที่อิงกับระบบตลาดและมาตรการการมีส่วนร่วมควรมีการทบทวนภารกิจของส่วนราชการระดับกรมแต่ละแห่งโดยแยกภารกิจหน้าที่หรือกิจกรรมใดที่เป็นแกนหลักหรือเป็นงานเชิงนโยบายออกจากภารกิจหน้าที่หรือกิจกรรมใดที่มิใช่แกนหลักหรือเป็นงานให้บริการและแปรสภาพให้แก่ภาคเอกชนและ/หรือภาคประชาชนและชุมชนเป็นผู้ดำเนินงานแทนและ/หรือร่วมมือกับส่วนราชการโดยใช้ประโยชน์สาธารณะเป็นเกณฑ์ ประการสุดท้าย ผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารรัฐกิจในระบบราชการพลเรือนไทย การประยุกต์ใช้รูปแบบการบริหารรัฐกิจในแต่ละภารกิจหน้าที่ของระบบราชการพลเรือนไทย ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารรัฐกิจของระบบราชการพลเรือนไทยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในการปฏิรูประบบราชการพลเรือนไทย และการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์การในระบบราชการพลเรือนไทย
Other Abstract: The puipose of this study is to examine the current status and trends of the Thai civil service system. Given the hypothesis that there is a paradigm shift from traditional model to market and/or participatory model, this study develops 24 indicators to examine such changes. Documentary research and literature review have been done to provide theoretical concepts regarding the intellectual roots of various models of administration and governance. Questionnaire survey has also been carried out to ask opinions of key public officials including the Director of Policy and Planning Division, the Director of Personnel Division, or the secretary of Department. Statistical tools employed for data analysis are frequency, percentage and pearson correlation coefficient. In addition, this study has selected the Department of Industrial Promotion as a case study in order to explore and describe the changing patterns in details. The findings confirm the hypothesis that the Thai civil service system has been shifting from the traditional, bureaucratic model towards the new models of public administration. Empirical evidence indicates high degree of acceptance and wildly application of new pratices (e.g., organizational restructuring, performance management, contracting out, public hearing, etc.) by the Thai public agencies. The case of Department of Industrial Promotion also shows how the new visions, missions and strategies (i.e., acting more as promoter, facilitator, and coordinator rather than direct provider of services to the small and medium-scale industries) have been put into actions. Despite the feet that the Thai civil service system is more modernized, there are some signs of resistance due to the administrative heritage of bureaucratic polity. Many public agencies do not strongly apply measures that would have some adverse affects on their current status and power, particularly the delegation of their authority to the other sectors, communities aid local governments. Accordingly, this study recommends that we should initiate a comprehensive societal reform in order to build the ground for bureaucratic reform. Reviewing roles and fonctions of public sector and emphasizing on participatory and partnership approach also needed to be seriously done. In addition, we should develop and indoctrinate new values (i.e., professionalism and entrepreneurial spirits) into the Thai bureaucracy. Finally, this study calls for an in-depth analysis of bureaucratic reform issues.
Description: วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69166
ISBN: 9743317708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Srirath_go_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.2 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch1_p.pdfบทที่ 11.78 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch2_p.pdfบทที่ 24.47 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch3_p.pdfบทที่ 32.18 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch4_p.pdfบทที่ 41.23 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch5_p.pdfบทที่ 51.8 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_ch6_p.pdfบทที่ 61.24 MBAdobe PDFView/Open
Srirath_go_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.