Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72528
Title: การพัฒนาเกมบริหารการผลิต
Other Titles: Development of a production management game
Authors: ทศพล แก้วอมร
Advisors: มานพ เรี่ยวเดชะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: manop@eng.chula.ac.th
Subjects: การจัดการ -- การจำลองระบบ
เกมการบริหาร
การจัดการอุตสาหกรรม
การบริหารงานผลิต
Management -- Simulation methods
Management games
Industrial management
Production management
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาเกมบริหารการผลิตเป็นการนำเอาเทคนิคการจำลองแบบปัญหา (Simulation) และ เทคนิคการใช้เกม (Gaming Technique) มาสร้างสถานการณ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาวิชาการบริหาร การผลิต ขอบเขตของเกมครอบคลุมกิจกรรมการพยากรณ์การผลิต การวางแผนการผลิต การวางแผน กำลังการผลิต และการบริหารวัสดุคงคลัง เกมที่พัฒนาแบ่งระดับความยากออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับผู้เริ่มต้น ระดับปานกลาง และระดับสูง ในระดับผู้เริ่มต้น ผู้เล่นจะได้รับการฝึกหัดการพยากรณ์การผลิต การจัดทำกำหนดการผลิตหลัก การวางแผนกำลังการผลิต และการบริหารวัสดุคงคลัง ในระดับปานกลางผู้เล่นจะได้ทำการฝึกหัดเพิ่มขึ้นในเรื่องการวางแผนความต้องการวัสดุ การตัดสินใจว่าจะสั่งซื้อหรือผลิตเอง และเกมได้เพิ่มปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตในระดับสูง ผู้เล่นจะได้พบกับปัญหาการจัดสรรทรัพยากร เนื่องจากการผลิตสินค้าต่างชนิดกันที่ใช้ชิ้นส่วนบางชิ้นร่วมกัน และต้องใช้หน่วยการผลิต ร่วมเดียวกัน นอกจากเนื้อเรื่องของเกมที่ได้กล่าวไปแล้วยังมีส่วนประกอบอื่นของเกมคือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการดำเนินและการประมวลผลการเล่นเกม คู่มือประกอบการเล่นเกมของผู้เล่น และคู่มือผู้กำกับการเล่นเกม จากการประเมินผลเกมบริหารที่พัฒนาด้วยการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่ เป็นกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม ๆ ละ 12 คน และ 21 คนตามลำดับพบว่ากลุ่มตัวอย่างต่างเห็นด้วยว่าเกม บริหารการผลิตสามารถช่วยทำให้เช้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง กิจกรรมการวางแผนต่าง ๆ ในการจัดการการผลิต และเสริมสร้างทักษะการบริหารการผลิตให้กับผู้เล่นได้
Other Abstract: The development of this production management game uses simulation and gaming techniques to create a learning situation for students of production management. The extent of the development covers forecasting, production planning, capacity planning and inventory management. The game has 3 levels, namely beginner, intermediate and advanced levels. เท the beginner level, players will practice forecasting process, master production scheduling, capacity planning and inventory management. In the intermediate level, players will have additional practices in material requirements planning and make/buy decision making. The game also adds more complexity with rejects. In the advanced level, players are confronted with a resource management problem, which is caused by the production of different products using a common component and production facilities. เท addition to the game, there are other materials that accompany it, i.e. computer programs for administering and processing the game, a player manual and a guide for the game administrator. The game has been evaluated by being played by two different target groups. One group consists of 12 people, the other 21 people. Both groups agree that the game help them understand the relationship of various planning activities in production management and improve their production management skill.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72528
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1998.139
ISBN: 9746399144
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1998.139
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thodsapol_ka_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_ch1_p.pdfบทที่ 1711.56 kBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_ch2_p.pdfบทที่ 24.37 MBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_ch3_p.pdfบทที่ 32.22 MBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_ch4_p.pdfบทที่ 44.87 MBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_ch5_p.pdfบทที่ 5649.45 kBAdobe PDFView/Open
Thodsapol_ka_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก720.52 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.