Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74663
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว | - |
dc.contributor.author | สาธิต ชวะโนทัย | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | - |
dc.date.accessioned | 2021-07-23T04:09:11Z | - |
dc.date.available | 2021-07-23T04:09:11Z | - |
dc.date.issued | 2532 | - |
dc.identifier.isbn | 9745697621 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74663 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษาครั้งนี้มีจุดหมายว่าพรรคการเมืองไทยมีแนวความคิดในการเลือกสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งอย่างไรและในการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งนั้นองค์ประกอบอะไรบ้างที่เป็นเกณฑ์อันสำคัญในการสรรหา โดยการศึกษาสัมภาษณ์จาก คณะกรรมการบริหารพรรค คณะกรรมการเลือกตั้งของพรรคประชาธิปัตย์, พรรคชาติไทย, พรรคกิจสังคม และพรรคประชากรไทย จากผลการศึกษาพบว่า ระบบการเลือกสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทยนั้นจะมีคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกันในหลักการ แต่จะมีความแตกต่างมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยภายในพรรคเป็นตัวกำหนดอยู่เบื้องหลัง พรรคชาติไทยและพรรคกิจสังคบจะมีหลักการเลือกสรรที่ตรงกัน คือคำนึงถึงฐานะทางเศรษฐกิจเป็นอันดับแรก ติดตามด้วยประสบการณ์ทางการเมือง สาหรับพรรคประชาธิปัตย์จะมุ่งเน้นในฐานะทางสังคมและอุดมการณ์ทางการเมือง ส่วนพรรคประชากรไทยจะคำนึงถึงคนที่มีผลงานด้านการพัฒนาเป็นหลัก แต่ทั้งนี้ผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่า คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งที่พรรคการเมืองส่วนใหญ่มีความต้องการตรงกัน คือผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดี และการมีประสบการณ์ทางการเมือง โดยให้ความสำคัญเป็นอย่างน้อยต่ออุดมการณ์ทางการเมือง และในประเด็นการเสนอข้อต่อรองแลกเปลี่ยนในการสรรหานั้น ส่วนใหญ่จะต้องเป็นบุคคลที่เคยได้รับตำแหน่งทางการเมืองมาก่อนในอดีตและอยู่ในเขตพื้นที่ที่จะได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า ฐานะทางเศรษฐกิจ ประสบการณ์ทางการเมือง ฐานะทางสังคมและอุดมการณ์ทางการเมืองเป็นปัจจัยที่พรรคการเมืองคำนึงถึงในการเลือกสรร โดยพิจารณาในความสำคัญมากน้อยตามลำดับและวิธีการเสนอข้อต่อรองแลกเปลี่ยนนั้นจะมีอยู่ในเฉพาะบุคคลที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยมีตำแหน่งทางการเมืองมาก่อน โดยเป็นผู้มีโอกาสได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง | - |
dc.description.abstractalternative | The aim of this case study is to analyze the factors involved in the selection of Thai political party candidates. For this analysis, I have interviewed the executive committees of four political paties; Democrat Party. Chat Thai Party, Social Action Party and Thai Citizen Party. From this analysis, it is understood that the main factor involved in selection party candidates is similar among the few groups but they differ slightly in selecting their individual candidates. Chat Thai Party and Social Action Party has a similar approach in considering their candidates according to the candidate's wealth status as the main factor and their experiences as the secondary factor. Democrat Party gives priority to candidates such a selection as, Thai Citizen Party would consider candidates who are community leaders. However, the primary selection factor of the four parties have on their candidates’ wealth status and give the least priority to candidates with political ideology. It can also be assumed that the Thai political parties favor candidates with good political experience by according to their high social status. By the way, in case of bargaining selection is depend on candidates who have had good political experiences, political status and who living in area and also have a chance to be a winner. From this, it can be concluded that wealth status, political experience, high social status and political ideology are factors which the parties consider in order. In bargaining selection is not only candidates who have political experience or political status but also have a chance to be winner. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | พรรคการเมือง -- ไทย | en_US |
dc.subject | การเลือกตั้ง | en_US |
dc.subject | สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร | en_US |
dc.subject | Members of parliaments | en_US |
dc.subject | Elections | en_US |
dc.subject | Political parties -- Thailand | en_US |
dc.title | การเลือกสรรผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย | en_US |
dc.title.alternative | Selection of Thai political party candidates | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | รัฐศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | การปกครอง | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sathit_ch_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_ch1_p.pdf | 1.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_ch2_p.pdf | 3.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_ch3_p.pdf | 4.43 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_ch4_p.pdf | 5.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_ch5_p.pdf | 1.55 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sathit_ch_back_p.pdf | 2.63 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.