Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19810
Title: | ปัญหาการสอนของนักศึกษาฝึกสอนวิชาพลศึกษา ของวิทยาลัยครูภาคตะวันตกและภาคใต้ |
Other Titles: | Teaching problems of physical education student teachers in western and southern teachers colleges |
Authors: | กิจจา เกิดผล |
Advisors: | ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | การฝึกสอน พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน |
Issue Date: | 2524 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการสอนของนักศึกาฝึกสอนวิชาพลศึกษาของวิทยาลัยครูภาคตะวันตกและภาคใต้ ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามแบบให้ตรวจคำตอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด โดยส่งแบบสอบถามไปยัง อาจารย์นิเทศก์ ภาคละ 15 คน อาจารย์พี่เลี้ยง ภาคละ 21 คน และนักศึกษาฝึกสอน ภาคละ 75 คน ได้รับแบบสอบถามจากอาจารย์ อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอน วิทยาลัยครูภาคตะวันตกกลับคืนมาทั้งหมด ร้อยละ 95 และได้รับแบบสอบถามจากอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี้เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอนวิทยาลัยครูภาคใต้ กลับคืนมาทั้งหมด ร้อย 99 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว นำเสนอในรูปตารางและความเรียง ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาฝึกสอนวิทยาลัยครูภาคตะวันตกและภาคใต้ประสบปัญหาด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการฝึกสอน คือ สนามกีฬาในร่มมีไม่เพียงพอสำหรับการสอนพลศึกษา ไม่ได้นำเครื่องมือทางโสตทัศนูปกรณ์มาช่วยสอน นักเรียนชอบเล่มเกมกีฬามากกว่าชอบเรียนทักษะ นโยบายของโรงรียนมุ่งจัดวิชาพลศึกษาสำหรับผลิตนักกีฬาเพื่อทำชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนเท่านั้น อาจารย์พี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศกืไม่มีเวลาในการให้คำแนะนำแก่นักศึกษาอย่างเพียงพอ จากการวิเคราะห์ความแปรปรวนของความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอนวิทยาลัยครูภาคตะวันตก ในปัญหาด้านต่าง ๆ ทุกด้าน พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และจากการวิจัยความแปรปรวนของความคิดเห็นของอาจารย์นิเทศก์ อาจารย์พี่เลี้ยง และนักศึกษาฝึกสอนวิทยาลัยครูภาคใต้พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในปัญหาด้านการเรียนการสอน ด้านอุปกรณ์ และสถานที่ ด้านการปกครองชั้นเรียน ด้านตัวนักศึกษาฝึกสอน และด้านอาจารย์พี่เลี้ยง นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะสำหรับปรับปรุงโครงการการฝึกสอนของวิทยาลัยครูภาคตะวันตกและภาคใต้ คือ อาจารย์นิเทศก์ควรมีการปรึกษาหารือกับอาจารย์พี่เลี้ยง เพื่อให้เกิดความร่วมมือประสานงานกันในการดำเนินงานด้านการฝึกสอนฝึกสอนให้ประสบผลสำเร็จอาจารย์พี่เลี้ยงควรมีส่วนร่วมในโครงการการฝึกสอนของทางวิทยาลัยครู และทางโรงเรียนที่นักศึกษาทำการฝึกสอน ควรจัดให้นักศึกษาสอนวิชาตามสาขาวิชาที่นักเรียนมา |
Other Abstract: | The purpose of this study was to investigate the teaching problems of physical education student teachers in the western and to southern teachers colleges. Three sets of questionnaires in the forms of check list, rating scales, and open-ended were constructed and sent to 15 supervisors, 21 cooperating teachers and 75 student teachers in each region. Ninety five percent of questionnaires were returned from western. Ninety nine percent of questionnaires were returned from southern. The obtained data were then analyzed into means and percentage. One-way analysis of variance method was also used to determine the level of significant difference. It was found that problems which the student teachers in western and southern teachers colleges encountered were: the inadequate indoor stadium for teaching; the inadequate use off audio-visual aids; the more attention paying to playing the whole game than practicing basic skills on the part of the students; school emphasizing on producing athletes; the unavailable time for helping the student on the part of the supervisors and cooperating teachers. Through the one-way analysis of variance, it was revealed that the opinions express by supervisors, cooperating teachers and student teacher in the western teachers colleges on the problems concerning the instruction, facilities and equipment, class discipline, pupils, student teachers themselves, schools, cooperating teachers and supervisors were not significantly different at the level of .01. On the other hand, in the southern teachers colleges on the problems concerning the instruction, facilities and equipment, class discipline, student teachers themselves and cooperating teachers were significantly different at the level of .01.Suggestions to improve teacher training program of the western and the southern teachers colleges were: supervisors and cooperating teachers should consult each other for a better coordination and cooperation; the cooperating teachers should have a part in setting up the college student teaching program as well as the students should be given choices to teach according to their respective subject areas. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19810 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Kijja_Ki_front.pdf | 792 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_ch1.pdf | 543.75 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_ch2.pdf | 918.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_ch3.pdf | 379.27 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_ch4.pdf | 3.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_ch5.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Kijja_Ki_back.pdf | 387.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.