Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21111
Title: | ปัญหาในการจัดโครงการพลศึกษาของครูที่ผ่านการอบรมภาคเรียนฤดูร้อน วิชาชุดพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Problems in organizing physical education programs encountered by teachers who passed summer courses in Phayao elementary schools |
Authors: | พิทักษ์ เหล็กกล้า |
Advisors: | ฟอง เกิดแก้ว |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไมีมีข้อมูล |
Subjects: | พลศึกษา -- การศึกษาและการสอน ครู การอบรมเพื่อการศึกษาระหว่างปิดภาคเรียนฤดูร้อน |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาในการจัดโครงการพลศึกษาของครูที่ผ่านการอบรมภาคเรียนฤดูร้อน วิชาชุดพลศึกษา (อ.ศ.ร. พลศึกษา) ในโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดพะเยา ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามแบบให้เลือกตอบ เติมคำและมาตราส่วนประเมินค่าโดยส่งแบบสอบถามไปยังครู อ.ศ.ร. พลศึกษาที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดพะเยา จำนวนทั้งหมด 131 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมา จำนวน 115 ชุด คิดเป็นร้อยละ 87.78 ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าครู อ.ศ.ร. พลศึกษาเคยทำการสอนวิชาพลศึกษา หลังจากผ่านการอบรมจำนวนมาก ถึงร้อยละ 82.61 ปัจจุบันมีครู อ.ศ.ร. พลศึกษาที่ยังทำการสอนวิชาพลศึกษาอยู่ ถึงร้อยละ 53.91 และครู อ.ศ.ร. พลศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในโรงเรียนที่ไม่มีครูที่มีวุฒิพลศึกษา ความรู้จากการอบรมที่นำไปใช้มากคือ วิชาภาคปฏิบัติ คือ แฮนด์บอล กรีฑาฟุตบอล การบริหารกาย ส่วนวิชาทางทฤษฏีคือ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนวิธีสอนพลศึกษา ในด้านการมีส่วนร่วมในการจัดโครงการจัดการแข่งขันกีฬาภายใน และการแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียนส่วนใหญ่ ครู อ.ศ.ร. พลศึกษาทำหน้าที่ควบคุมนักกีฬาฝึกซ้อมและกรรมการตัดสิน ในการจัดการอยู่ค่ายพักแรมส่วนใหญ่ทำหน้าที่ฝ่ายสันทนาการ ครู อ.ศ.ร. พลศึกษา ร้อยละ 40.87 เคยได้รับเชิญให้ไปตัดสินกีฬาอื่นๆ นอกเหนือจากกีฬานักเรียนนอกจากนั้นยังมีส่วนร่วมในการจัดซื้อ และการเก็บรักษาอุปกรณ์ สำหรับปัญหาในการจัดโครงการพลศึกษาในโรงเรียนที่พบคือ เครื่องแต่งกายในการเรียนกิจกรรมพลศึกษาของนักเรียนไม่เหมาะสม จำนวนอุปกรณ์ไม่เพียงพอกับจำนวนนักเรียน สถานที่ในร่มไม่พอสำหรับการสอนพลศึกษา ไม่มีที่เก็บอุปกรณ์อย่างเหมาะสม บริเวณสนามไม่มีความปลอดภัย ไม่มีที่เปลี่ยน เครื่องแต่งกายสำหรับนักเรียน อุปกรณ์พลศึกษาเก่าชำรุดและไม่ปลอดภัย การเบิกเงินเพื่อใช้จ่ายในการจัดโครงการพลศึกษาในโรงเรียนไม่มีความสะดวก ขาดการนิเทศทางพลศึกษา ขาดแหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม ขาดการอบรมทางด้านพลศึกษา และผู้ปกครองมีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้มีปัญหาในการเข้าร่วมกิจกรรมพลศึกษา |
Other Abstract: | The purpose of this study was to investigate the problems in organizing physical education programs encountered by teachers who passed summer courses in Phayao elementary schools Questionnaires in the form of check-lists, open-ended, and rating scales were constructed and sent to one hundred and thirty-one teachers who passed physical education summer courses in Phayao elementary schools. One hundred and fifteen questionnaires, constituting of eighty-seven percent were returned. The data were analyzed into percentage, means, and standard deviation in order to determine the level of participation and problems in the organization of physical education programs. It was found that after physical education summer courses, eighty-two percent of them had taught physical education and fifty-three percent remain teaching. Most of them worked in schools where trained physical education teachers did not exist, The practical knowledge of physical education summer courses utilized in teaching were handball, athletics, calisthenics and football. The theories were principles of teaching. Most of them were trainners and referees in intramural and extramural sports programs, recreation leaders in camping activities, and they were also active in purchasing and maintaining the physical education equipment and facilities. The problems in organization physical education programs were as follows: the students' uniform were not appropriate. in learning physical education activities and inadequate of equipments stores. The feild areas were not safe, inadequate lockers for students, old and not safe physical education equipments, and budgeting of physical education programs was not convenience. The supervisors seldomly helped solving the problems of teaching. There were lacks of handbooks and trainign in physical education. The econmic status of the student parents was not good which causes the problems in participating in physical education activities. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พลศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21111 |
ISBN: | 9745610844 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Phitak_Le_front.pdf | 400.12 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_ch1.pdf | 335.24 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_ch2.pdf | 495.36 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_ch3.pdf | 264.03 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_ch4.pdf | 760.49 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_ch5.pdf | 435.9 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Phitak_Le_back.pdf | 620.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.