Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22396
Title: ความตรงตามสภาพของแบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์
Other Titles: Concurrent validity of the Kuder general interest survey
Authors: สุมนรัตน์ กันหลง
Advisors: พรรณาย ทรัพยะประภา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะตรวจสอบความตรงตามสภาพของแบบสำรวจความสนใจในอาชีพของคูเดอร์ Kuder General Interest Survey ฉบับภาษาไทยโดยใช้แบบสำรวจความสนใจในอาชีพฉบับของกรมวิชาการเป็นเกณฑ์ในการวิจัย โดยมีสมมุติฐานในการวิจัยว่า แบบสำรวจความสนใจในอาชีพฉบับนี้มีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับแบบสำรวจความสนใจในอาชีพฉบับของกรมวิชาการ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้สำรวจความสนใจ ตลอดจนเปรียบเทียบความสนใจในอาชีพประเภทต่างๆ ของนักเรียนชายและหญิงที่นำมาเป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้อีกด้วย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2522 จำนวน 290 คน จากโรงเรียนวัดปากน้ำ โรงเรียนพุทธจักรวิทยา โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม และโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย เป็นนักเรียนชาย 139 คน นักเรียนหญิง 151 คน มีอายุระหว่าง 14-18 ปี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson Product Moment Correlation Coefficient การทดสอบความมีนัยสำคัญของค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์โดยใช้ตารางสำเร็จ Z การคำนวณค่าร้อยละ การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยค่า t ผลการศึกษาปรากฏว่า 1.แบบสำรวจความสนใจในอาชีพฉบับ Kuder General Interest Survey ฉบับภาษาไทยมีสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 กับแบบสำรวจความสนใจในอาชีพฉบับกรมวิชาการ ซึ่งสนับสนุนสมมติฐานในการวิจัยครั้งนี้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนในแต่ละกลุ่มอาชีพอยู่ระหว่าง .50 - .77 และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์รวมเท่ากับ .66 2. นักเรียนชายมีความสนใจในอาชีพงานกลางแจ้งมากที่สุด รองลงมาตามลำดับได้แก่งานวรรณกรรม งานด้านวิทยาศาสตร์ งานดนตรี งานศิลปะ งานชักชวนโฆษณา งานจักรกล งานคำนวณ งานเสมียน และงานบริการสังคม ส่วนนักเรียนหญิงมีความสนใจในอาชีพงานด้านวิทยาศาสตร์มากที่สุด รองลงมาตามลำดับได้แก่ งานชักชวนโฆษณา งานดนตรี งานวรรณกรรม งานบริการสังคม งานกลางแจ้ง งานจักรกล งานคำนวณ และงานศิลปะ 3. นักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีความสนใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญในอาชีพเกี่ยวกับงานกลางแจ้ง งานจักรกล งานวิทยาศาสตร์ งานบริการสังคม งานด้านคำนวณและงานเสมียน โดยนักเรียนชายมีความสนใจในอาชีพงานกลางแจ้ง งานจักรกล และงานวิทยาศาสตร์สูงกว่านักเรียนหญิงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนนักเรียนหญิงมีความสนใจในอาชีพ งานบริการสังคม งานด้านคำนวณ และงานเสมียนสูงกว่านักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญ
Other Abstract: The purpose of this study was to find the concurrent validity of the Kuder General Interest Survey according to the hypothesis that this test was significantly correlated to the Kuder Preference Record. The researcher also wished to investigate the vocational interests between boy and girl students. The sample consisted of 290 students who were studying at Matayom Suksa Three level, randomly selected from the following schools: Wat-Paknum, Putajukwittaya, Singharajwittayakom and Samsenvitayalai. These students were 139 boys and 151 girls between the age of 14-18 years. The statistical methods used for data analysis were Pearson Product Moment Correlation Coefficient the test of significant by Table Z, Percentage, and the test of different between groups by t-test. The results revealed that : 1.The Kuder General Interest Survey was significantly correlated with the Kuder Preference Record-Vocational which supported the hypothesis. The correlation coefficients of all scales were between .50 - .77 and the mean was about .66. (level of significant is .05) 2. The boy students’ most interests were reported in outdoor, literary, scientific, musical, artistic, persuasive, mechanical, computational, clerical and social services, respectively. The girl students’ most interests were reported in scientific, persuasive, musical, literary, social services, outdoor, mechanical, computational and artistic, respectively. 3.The students’ vocational interest differed significantly in outdoor, mechanical, scientific, social services, computational and clerical. The boys’ vocational interests were higher than the girls’ in outdoor, mechanical and scientific, and the girls’ vocational interests were higher than the boys’ in social services, computational and clerical.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/22396
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumonrut_Ku_front.pdf458.54 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch1.pdf639.2 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch2.pdf895.25 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch3.pdf404.47 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch4.pdf364.03 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch5.pdf475.46 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_ch6.pdf319.5 kBAdobe PDFView/Open
Sumonrut_Ku_back.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.