Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71658
Title: รูปแบบและโครงสร้างของคณะกรรมการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อม
Other Titles: Model and structure of environmental dispute resolution committee
Authors: ลัดดา เกียรติก้องขจร
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กฎหมายสิ่งแวดล้อม -- ไทย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาถึงรูปแบบและโครงสร้างของคณะกรรมการระงับข้อพิพาทที่เหมาะสม กับการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมของไทย จากการศึกษาพบว่าการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันได้มีการใช้ในรูปแบบคณะกรรมการ แต่ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากคู่กรณีไม่ได้มีส่วนร่วมในการเจรจา ทำให้ข้อพิพาทไม่สามารถยุติลงตามความพึงพอใจของคู่กรณีได้ และคณะกรรมการที่มีดังกล่าวยังขาดองค์ประกอบของโครงสร้างของคณะกรรมการ รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนให้มีการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมโดยคณะกรรมการ การวิจัยฉบับนี้จึงได้เสนอให้มีการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมนอกศาลโดยคณะกรรมการ โดยให้มีโครงสร้างของคณะกรรมการประกอบด้วยองค์คณะสามฝ่าย คือ ฝ่ายผู้เสียหาย ฝ่ายผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย และฝ่ายผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย ซึ่งมีจำนวนกรรมการอยู่ในระหว่าง 9-11 คน คณะกรรมการมาจากการแต่งตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัด และการดำรงอยู่ของคณะกรรมการจะมีลักษณะเฉพาะกิจ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ประกอบด้วย การค้นหาข้อเท็จจริง รับฟังความคิดเห็นของคู่กรณีทุกฝ่าย ประสานงาน ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท และทำบันทึกข้อตกลง โดยมีขั้นตอน การระงับข้อพิพาท 4 ขั้นตอน คือ 1) การสำรวจสภาพปัญหาเบื้องต้นโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น 2) การแต่งตั้งคณะกรรมการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อม 3) การสอบข้อเท็จจริงและถามข้อเรียกร้องจากคู่กรณี 4) การเจรจาไกล่เกลี่ย ผลของการดำเนินการระงับข้อพิพาทจะมีผล 2 ประการ คือ
ผลการเจรจาไกล่เกลี่ยกับผลต่ออายุความฟ้องร้อง สำหรับระยะเวลาดำเนินการระงับข้อพิพาทกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันนับแต่วันแต่งตั้งคณะกรรมการระงับข้อพิพาท โดยให้ในแต่ละจังหวัดที่มีปัญหาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นดำเนินการตามรูปแบบและโครงสร้างที่ได้นำเสนอแล้วโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ตราข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อกำหนดเป็นแนวทางที่จะให้เป็นทางเลือกสำหรับคู่พิพาทที่จะนำไปใช้ได้เลย และหากการนำรูปแบบและโครงสร้างดังกล่าวใช้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพแล้วก็อาจตราเป็นกฎหมายขึ้นใช้บังคับโดยเพิ่มหมวดว่าด้วยการระงับข้อพิพาทไว้ในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 โดยให้มีเนื้อหาว่า “เมื่อมีข้อพิพาทสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นคู่กรณีอาจดำเนินการระงับข้อพิพาทโดยการตั้งคณะกรรมการเพื่อระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อม และให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการการตั้งคณะกรรมการระงับข้อพิพาทสิ่งแวดล้อม ให้ถือว่าเป็นการกระทำอันมีผลเป็นอย่างเดียวกับการฟ้องคดี และให้อายุความสะดุดหยุดลงจนกว่าจะปรากฏว่าการดำเนินการของคณะกรรมการไม่อาจดำเนินการให้ข้อพิพาทยุติลงไปได้”
Other Abstract: This research has a purpose to study a model and structure of the suitable committee to resolve an environmental dispute in Thailand. The study reveals that the current dispute resolution on environmental matters has been made by committees; however, they are inefficient. The reason is the parties have no chance to participate in the negotiation; therefore, they do not satisfy with the resolution. In addition, neither the committees have set the structure nor having laws clearly supporting their authority to resolve the environmental dispute. Hence, this research proposes to establish the committee to resolve the environmental dispute outside the court. The committee’s structure shall be tri-parties, which are the damager, the mediator and the accused. The committee comprises of 9-11 persons appointed by the Governor and will be existed for the special purpose to resolve each dispute under case by case basis. Its authority are to survey the fact, obtain all parties’ comments, cooperation and mediation and making an agreement. The dispute should be resolved according to the following steps:- 1) basic survey the case made by the local competent officer 2) appointment of the environmental dispute resolution committee 3) investigation and proposal made by the parties 4) negotiation and mediation. The resolution shall have 2 effects, which are mediation result and the prescription of litigation. The resolution period should be lasted within 90 days from the date of committee! appointment. When there is an environmental dispute in any province, the above mentioned! steps and structure should be followed. The Governor may issue provincial regulations as guidelines and options for the disputed parties. If the model and structure of the committee is efficiently used, it may be enacted as an addition part of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B. E. 2535. Its content should be read “Whenever the environmental dispute occurs, the disputed parties may proceed to the resolution by appointing the environmental dispute resolution committee. The local competent officer may also appoint such a committee. The appointment shall be deemed as an act which brings an effect equivalent to entering an action and the prescription is interrupted until it appears that the resolution cannot be reached.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวทยาลัย, 2539
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71658
ISBN: 9746361384
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda_ki_front_p.pdf967.34 kBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_ch1_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_ch2_p.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_ch3_p.pdf2.09 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_ch4_p.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_ch5_p.pdf1.19 MBAdobe PDFView/Open
Ladda_ki_back_p.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.