Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72211
Title: | การเก็บสถิติและการใช้ประโยชน์จากสถิติห้องสมุดมหาวิทยาลัย |
Other Titles: | Statistics compilation and use by the university libraries |
Authors: | อนงค์ อนันตริยเวช |
Advisors: | ประภาวดี สืบสนธิ์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา -- ไทย --สถิติ ห้องสมุด --สถิติ Academic libraries -- Thailand -- Statistics Libraries -- Statistics |
Issue Date: | 2530 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ก) ศึกษาประเภทสถิติที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดเก็บ วิธีการเก็บสถิติและการใช้ประโยชน์จากสถิตินั้น ข) ศึกษาวิธีการเผยแพร่และปัญหาในการเก็บสถิติของห้องสมุดมหาวิทยาลัย การวิจัยครั้งนี้ทำให้ผู้บริหารสถาบันและผู้บริหารห้องสมุดตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของสถิติห้องสมุด สำหรับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดจะได้ทราบถึงประเภทสถิติห้องสมุด วิธีเก็บสถิติ การใช้ประโยชน์ และการเผยแพร่สถิติของห้องสมุดอื่น นอกจากนี้ได้เสนอรูปแบบในการเก็บสถิติของห้องสมุดมหาวิทยาลัยให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้แบบสอบถาม 2 ชุด คือ ชุดแรกสอบถามหัวหน้าห้องสมุดมหาวิทยาลัย สังกัดทบวงมหาวิทยาลัย ทั้งหมด 16 แห่ง แบบสอบถามชุดที่ 2 สอบถามบรรณารักษ์หัวหน้างานแต่ละฝ่ายในห้องสมุดดังกล่าว จำนวน 95 ชุด โดยสอบถามจาก หัวหน้างานธุรการ งานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานวิเคราะห์เลขหมู่และทำบัตรรายการ งานวารสารและเอกสาร งานโสตทัศนวัสดุและงานบริการ รวมแบบสอบถามทั้งสิ้น 111 ชุด ได้รับแบบสอบถามคืนมา 110 ชุด คิดเป็นร้อยละ 99.10 นอกจากนี้ได้สัมภาษณ์หัวหน้าห้องสมุดและบรรณารักษ์หัวหน้างานห้องสมุด ในเขตกรุงเทพมหานครเพิ่มเติม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งผลการวิจัยปรากฎดังนี้ 1. ประเภทสถิติที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยจัดเก็บพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่ตอบแบบสอบถาม (15 แห่ง) เก็บสถิติงานพัฒนาทรัพยากรห้องสมุด งานเทคนิค งานวารสารและเอกสาร งานบริการ และงานโสตทัศนวัสดุ ส่วนงานที่มีการเก็บสถิติในห้องสมุดน้อย คือ งานห้องสมุดคณะ มีห้องสมุด 6 แห่งที่เก็บสถิตินี้ 2.วิธีการเก็บสถิติของห้องสมุดมหาวิทยาลัยพบว่า ห้องสมุดมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ (14 แห่ง) กำหนดให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรับผิดชอบเก็บสถิติเฉพาะงานของตน จากนั้นจึงนำสถิติที่จัดเก็บส่งให้บรรณารักษ์หัวหน้างานเพื่อรวบรวมเป็นสถิติของฝ่ายต่อไป 3. การใช้ประโยชน์จากสถิติห้องสมุดมหาวิทยาลัย มีผู้ใช้ประโยชน์จากสถิติที่จัดเก็บ 2 กลุ่ม คือ หัวหน้าห้องสมุดและบรรณารักษ์หัวหน้างาน ในส่วนของหัวหน้าห้องสมุดพบว่า มีการใช้ประโยชน์จากสถิติห้องสมุด เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนการเสนอขอบุคลากร ของบประมาณ และประกอบการพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงงานห้องสมุด ในขณะที่กลุ่มบรรณารักษ์หัวหน้างาน นำสถิติที่จัดเก็บไปใช้ประโยชน์ในการรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานในแผนกมากที่สุด รองลงมาคือ การใช้สถิติเพื่อพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงในแผนก เสนอของบประมาณ ขอบุคลากรและประเมินผลงานของบุคลากรในแผนก 4. วิธีการเผยแพร่สถิติห้องสมุด พบว่า มีห้องสมุดที่เผยแพร่สถิติ 10 แห่ง (จากห้องสมุดผู้ตอบทั้งหมด 15 แห่ง) โดยห้องสมุดที่เผยแพร่สถิตินั้นมีห้องสมุด 5 แห่ง เผยแพร่โดยการพิมพ์สถิติรวมไว้ในรายงานประจำปีของสถาบัน ห้องสมุด 4 แห่ง พิมพ์ลงในวารสารที่ออกโดยห้องสมุด ห้องสมุด 2 แห่งพิมพ์เป็นแผ่นปลิว ห้องสมุด 1 แห่ง จัดพิมพ์ส่งฝ่ายบริหาร และอีก 1 แห่งพิมพ์เสนอคณะกรรมการห้องสมุด นอกจากนี้มีห้องสมุดบางแห่งเผยแพร่สถิติห้องสมุด โดยเสนอในที่ประชุมกรรมการห้องสมุด และเสนอเป็นกระดานสถิติ 5. ปัญหาในการเก็บสถิติห้องสมุดมหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดประสบปัญหาในการเก็บสถิติในระดับปานกลาง และน้อย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการไม่มีเวลา ไม่มีผู้ช่วย ข้อมูลที่ได้รับไม่ครบถ้วน ไม่มีประสบการณ์ในการเก็บสถิติ หรือปัญหาได้รับข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยปัญหาที่พบน้อยที่สุด คือ การไม่ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในแผนก ส่วนปัญหาที่ทำให้ห้องสมุดไม่สามารถเก็บสถิติให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันได้ คือ การที่ห้องสมุดแต่ละแห่งมีลักษณะเฉพาะในการดำเนินงานและมีการเก็บสถิติต่างประเภทกัน ข้อเสนอแนะ 1. ควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเก็บสถิติห้องสมุดอย่างชัดเจน ซึ่งจะทำให้บรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเก็บสถิติอย่างมีเป้าหมาย เล็งเห็นความสำคัญของการเก็บสถิติห้องสมุด อันจะทำให้ได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ ครบถ้วน และถูกต้อง ทำให้สถิติห้องสมุดมีความเที่ยงตรง น่าเชื่อถือยิ่งขึ้น 2. ห้องสมุดแต่ละแห่งควรกำหนดให้มีหน่วยงานกลาง เพื่อรวบรวมสถิติทุกประเภทจากหน่วยงานที่มีการเก็บสถิติห้องสมุด นำมาแปลผลเพื่อใช้ประโยชน์ การวิเคราะห์และแปลผลนั้น ควรกระทำโดยบุคลากรผู้มีความเชี่ยวชาญด้านสถิติและงานห้องสมุด เพื่อให้ผลที่ได้มีความเที่ยงตรง แม่นยำที่สุด 3. ห้องสมุดควรเก็บและเผยแพร่สถิติอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเก็บสถิติอย่างสม่ำเสมอ ย่อมทำให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ทันสมัย และการเผยแพร่สถิติอย่างสม่ำเสมอย่อมมีประโยชน์ในการเปรียบเทียบสถิติห้องสมุดให้เห็นข้อได้เปรียบเสียเปรียบที่ชัดเจน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขงานให้ดียิ่งขึ้น 4. บุคลากรทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการเก็บสถิติและการใช้ประโยชน์จากสถิติห้องสมุด ควรให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการเก็บ และใช้ประโยชน์จากสถิติได้เต็มที่ และมิให้เกิดความสูญเปล่าทั้งแรงงานและเวลาที่เสียไปในการเก็บสถิติ 5. เมื่อได้นำสถิติที่เก็บมาวิเคราะห์และแปลผล จนพบว่ามีความแน่นอนในระดับหนึ่งแล้ว ควรมีการทดลองใช้สถิติกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติงานแต่ละงาน เพื่อหาข้อกำหนดมาตรฐานของห้องสมุดมหาวิทยาลัยในการเก็บสถิติ |
Other Abstract: | The purposes of this research aim at : a) Studying the types of statistics compiled by university libraries, methods of statistics compilation and their use. b) Studying methods of publicity and problems of statistics compilation. This research helps : a) the administrators to be aware of the significance and use of library statistics; b) the librarians to envisage the types, methods, uses and distribution of other library statistics; c) designing a unified pattern of university statistics compilation. The data were gatherd by two structured-questionnaires. The first set was sent to 16 university head librarians, and the second on was sent to 95 university librarians heading the following departments : administration, acquisition, cataloging and classification, periodical, audiovisual and readers’ services. Of 111 distributed questionnaires, 110 completed questionnaires were returned (99.10%). Besides, the interviews were additionally made with head librarians and other librarians. The findings can be summarized as follows : 1. Types of collected university library statistics : all fifteen university libraries compiled statistics about their acquisition, cataloging and classification, periodical, readers’ services and audiovisual. Only 6 university libraries collected statistics about their faculty libraries. 2. Method of statistics compilations : most university libraries (14) assigned librarians and other assistants to gather statistics of their own department, which were later sent to their heads for further compilation. 3. Use of university library statistics : it was found that two groups of librarians used these statistics. They were head librarians and heads of the departments. The head librarians use statistics as the data to support the require of more library personnel and budget. Also, use it as a guideline of their library improvement. The heads of various departments librarians used statistics as the data in preparing progressive reports, also, as a guideline in improving their library routine work. The statistics was further used for reporting their requirement of more budget and personnel, and moreover, in assessing the performance of their department personnel. 4. Method of publicity : only ten out of fifteen university libraries published their statistics. Five university libraries published in their annual reports, four published in their library journals, and two published in leaflets. Moreover, some libraries presented their statistics in library committee meetings and also presented in the form of statistics board. 5. Problems of statistics compilation : the libraries faced some of following problems; insufficient time and assistants; incompleted data; lack of experience; and incorrect data. The problems least found was lack of cooporation from departmental personnel. The problem of convincing all the university libraries to use the same compiling procedure was due to their different types of statistics collected. Recommendations are as follows: 1. Objectives of statistics compilation should be clearly determined in order to obtain complete data and to make the statistics more accurate and valid. 2. Statistics Compilation Center should be set up to compile statistics from other departments. Then the interpretation should be done by the statisticians and library experts to acquire more reliable and accurate statistics results. 3. The compiling and publishing statistics should be done consistently to get accurate and up-to-date data. Regularly distribution yields the comparison, as well as to find the advantages and disadvantages, leading to efficient improvement. 4. Personnel responsible for compilation and use of statistics should pay interest and cooperation in statistics gathering. This will offer the full use of library statistics, worth their time and effort. 5. After the compiled statistics have been analyzed and interpreted with some certainty, there should be an experiment by using statistics to set the lowest working standard in order to findout standard among the university libraries in gathering library statistics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บรรณารักษศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72211 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1987.79 |
ISBN: | 9745674117 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1987.79 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anong_an_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 1.12 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 881.88 kB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 6.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 2.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Anong_an_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 3.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.