Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74292
Title: การพัฒนากระบวนการฝึกอาชีพเพื่อการพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ
Other Titles: The development of vocational training process to develop community for private armed forces
Authors: เปรมวิภา วิศาลธีระกร
Advisors: ทิพวรรณ เลขะวณิช
ทวี แจ่มจำรัส
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: กรมการกำลังสำรองทหารบก
โรงเรียนการกำลังสำรอง
สำนักงานทหารพัฒนา
ศูนย์ประสานงานกองหนุนแห่งชาติ
การศึกษากับการพัฒนาประเทศ
การฝึกอาชีพ
การพัฒนาชุมชน
ทหารกับการพัฒนาชุมชน
การศึกษากับสังคม
ทหารกองประจำการ
Occupational training
Community development
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพและการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ และเพื่อพัฒนากระบวนการฝึกอาชีเพื่อการพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวิจัยเอกสาร ขั้นตอนที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงทดอง การวิจัยเอกสาร เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษา เพื่ออาชีพและการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ ศึกษาจากเอกสารชั้นต้นและเอกสารชั้นรอง ในด้านหลักสูตรการสอน วิธีการให้การศึกษา ผู้รับผิดชอบการดำเนินงาน ผู้ให้การศึกษาและผู้เข้ารับการศึกษา ระยะเวลาและสถานที่ที่ใช้ในการดำเนินงานวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยเชิงทดลอง เพื่อพัฒนากระบวนการฝึกอาชีพเพื่อการพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ ด้วยการทดลองใช้คู่มือการฝึกอาชีพโดยมีครูฝึกคอยควบคุม ในการฝึกอาชีช่างไม้ อาชีพช่างปูนและอาชีพช่างยนต์เบื้องต้น ทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างทหารกองประจำการที่เข้ารับการฝึกอาชี จำนวน 142 คน ครูฝึกจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ คู่มือการฝึกอาชีพ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนรวมทั้งแบบวัดเจตคติ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบผลการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการหาค่า t-test วิเคราะห์ข้อมูลการวัดเจตคตอด้วยการหาค่าเฉลี่ย (X) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัย การวิจัยเชิงเอกสาร พบว่าสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพและการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการเปลี่ยนแปลงตามขั้นตอนวิวัฒนาการ 3 ครั้ง คือ พ.ศ. 2520 พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2539 ด้านหลักสูตรการสอน แบ่งออกเป็น 2 สาขาคือด้านช่างฝีมือ และด้านการเกษตร วิธีการให้การศึกษาใช้วิธีการบรรยาย สาธิตและการฝึกทักษะ ผู้ให้การศึกษาคือข้าราชการจากสำนักงานทหารพัฒนา ผู้เข้ารับการศึกษาคือทหารกองประจำการที่เตรียมปลดเป็นทหารกองหนุน แต่ละหลักสูตรใช้เวลา 90 ชั่วโมง ต่อมาเพิ่มหลักสูตรด้านช่างฝีมือ และเพิ่มเวลาการศึกษาเป็น 240 ชั่วโมง ปัจจุบันเมื่อทำข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้เพิ่มหลักสูตรสาขาด้านช่างอุตสาหกรรมขึ้นอีก และเพิ่มเวลาการฝึกเป็นประเภท 240 ชั่วโมง และ 320 ชั่วโมง กระทรวงกลาโหมโดยสำนักงานทหารพัฒนารับผิดชอบจัดโครงการฝึก เหล่าทัพรับผิดชอบงบประมาณ ปัญหาที่พบระยะแรกคือด้านการประชาสัมพันธ์และสถานที่ฝึก ต่อมามีปัญหาขาดวัสดุอุปกรณ์และวุฒิความรู้ของทหารต่ำ ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทรัพยากรบุคคลและงบประมาณ ในการพัฒนากระบวนการฝึกอาชีพเพื่อพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ ทหารกองประจำการที่เข้ารับการฝึกอาชีพทุกคนต้องผ่านการเรียนวิชาการพัฒนาชุมชนสำหรับทหารกองประจำการ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการทำแบบทดสอบเพื่อวัดความรู้ ความก้าวหน้า ตามขั้นตอนก่อน จึงจะเข้ารักการฝึกอาชีพและปฏิบัติตามขั้นตอนของกระบวนการต่อไป การวิจัยเชิงทดลอง พบว่า ผลการทดสอบความรู้ทหารกองประจำการทุวิชา ค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบหลังเรีนน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้านเจตคติที่มีต่อการเรียน/การฝึกอาชีพ ทหารกองประจำการมีเจตคติในระดับเห็นด้วยมาก ในด้านการยอมรับคู่มือการเรียน/การฝึกอาชีพ และในด้านการยอมรับคุค่าของการเรียน/การฝึกอาชีทุกวิชา ส่วนเจตคติที่มีต่อการสอนของครู อยู่ในระดับเห็นด้วยมากในด้านการยอมรับคู่มือการเรียน/การฝึกอาชีพทุกวิชาเช่นกัน และในด้านการฝึกทักษะทหารกองประจำการที่เข้ารับการฝึกอาชีพ สามารถฝึกทักษะผ่านทุกคน
Other Abstract: The purpose of the research were to study conditions and problems of management on vocational education and education for community development for private armed forces. Vocational training process also has been developed for private armed forces community developing. Two methodologies have been processed, the first step was documentary research and the second step was experimental research. Through the documentary research related to the studying of conditions and problems of management on vocational education and education for community development for private armed forces using both pnmary and secondary sources, such as curriculum, educational method, responsible persons, instructors and trainee, time and place for training, analysis of data by analysis of contents. The experimental research was to develop vocational education for community development tor pnvate armed forces by expenmenting to use vocational manual having supervising trainers in carpenter training, cement worker training and mechanic training. The test was carried out with the 142 pnvate armed forces vocational trainees and 50 trainer. The tools used were handbook, the pre-test and the post-test, the attitude test by finding for t-test, arithmetics means (X) and standard deviations (S.D.) Finding; From the documentary research it was found that the condition and problems related to management of vocational education and education for community development for pnvate armed forces have been changed according to three steps of evolution, i.e. 1977,1981 and 1996. Teaching curriculum was divided into two fields, skill work and agricultural aspect. The teaching methods are lecture, demonstration and skill training. The teachers were governmental officers from Military Development Office. The trainees were retiring from private armed forces. Each course needed 90 hours. Later, there were additional course of skill training and additional 240 educational hours, At present, the Ministry of Defence has contacted with Ministry of Labor and Social Welfare the curriculums were more; the courses that were added up are industrial technicians. Time for training are increasing to 240 hours and 320 hours. The Ministry of Defence, by the Military Development Office is responsible for arranging training programs. The armed forces are responsible for budget. Later, there were problems of deficiency of materials and equipment and low knowledge and education of trainees. At present there are problems of taking policy to be used and problems of lacking of resources. In vocational development for community development for private armed forces. Every private armed forces soldier has to pass community development course for private armed forces theoretically and practically and to do the test for evaluating knowledge, progress, then they could be trained vocationally and in skill practically The experimental research indicated all of the subjects, the mean value of pre-test is averaged lower than the mean value of post-test. There was statistically significant difference of knowledge at the level 0.05. The attitude test towards vocational training of pnvate armed forces all of the subjects were good. The handbook and the value of vocational training were accepted. The attitude test towards vocational training of teachers and acceptance of handbook of study/skill training all of the subjects were good. Every private armed forces vocational trainees could pass the skill training.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74292
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.348
ISBN: 9746380842
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1997.348
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pramevipa_vi_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ1.15 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_ch1_p.pdfบทที่ 12.26 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_ch2_p.pdfบทที่ 25.95 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_ch3_p.pdfบทที่ 34.52 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_ch4_p.pdfบทที่ 46.89 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_ch5_p.pdfบทที่ 53.96 MBAdobe PDFView/Open
Pramevipa_vi_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก5.91 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.