Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66089
Title: การเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการแต่งกายตามแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Information exposure, attitude and fashion dressing of teenagers in Bangkok
Authors: สินนภา ภู่สว่าง
Advisors: ปรมะ สตะเวทิน
Advisor's Email: Parama.s@chula.ac.th
Subjects: วัยรุ่น--ไทย--ทัศนคติ
วัยรุ่น--เครื่องแต่งกาย--ไทย
การเปิดรับข่าวสาร
Adolescence--Thailand--Attitude
Adolescence--Costume--Thailand
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ และการแต่งกายตามแฟชั่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว, ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ที่มีเพศ อายุ การศึกษา และรายได้แตกต่างกัน มีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับแฟชั่นการแต่งกายแตกต่างกัน 2. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับแฟชั่นการแต่งกาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติเกี่ยวกับแฟชั่นการแต่งกาย 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับแฟชั่นการแต่งกาย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการแต่งกายตามแฟชั่น 4. ทัศนคติเกี่ยวกับแฟชั่น มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการแต่งกายตามแฟชั่น 5. ตัวแปรที่สามารถอธิบายการแต่งกายตามแฟชั่นได้ดีที่สุด คือ ทัศนคติ
Other Abstract: The purpose of this research was to study the correlation among information exposure, attitude and fashion dressing of teenagers in Bangkok. Questionnaires were used to collect the data from 400 samples. Frequency, Percentage, Mean, T-test, One-way Analysis of Variance, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient and Multiple Regression Analysis were employed for the analysis of the data. SPSS for Windows program was used for data processing. The results of the study were as follows : 1. Teenagers with different sex, age, education and income were different in the exposure to fashion dressing information. 2. Exposure to fashion dressing information positively correlated with attitude toward fashion dressing. 3. Exposure to fashion dressing information positively correlated with fashion dressing. 4. Attitude toward fashion dressing positively correlated with fashion dressing. 5. The variable that could best explain fashion dressing was attitude toward fashion dressing.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66089
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.434
ISBN: 9740311466
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.434
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sinnapa_bh_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ872.17 kBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_ch1_p.pdfบทที่ 11.16 MBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_ch2_p.pdfบทที่ 22.65 MBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_ch3_p.pdfบทที่ 3984.94 kBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_ch4_p.pdfบทที่ 41.5 MBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_ch5_p.pdfบทที่ 51.69 MBAdobe PDFView/Open
Sinnapa_bh_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.