Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74044
Title: ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วตาม พระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ. 2518
Other Titles: Legal Problems on Gross Misconduct According to the Civil Service Act 1975 (B.C.2518)
Authors: ปารณี จั่นแย้ม
Advisors: ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ข้าราชการพลเรือน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Public officers -- Law and legislation
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วินัยข้าราชการ คือข้อบังคับที่ทางราชการกำหนดไว้เพื่อควบคุมพฤติกรรมของข้าราชการใน หน่วยงานให้ปฏิบัติตามเพื่อให้การบริหารงานบุคคลในหน่วยงานนี้นดำเนินไปได้ ระบบวินัยชองประเทชไทย มีลักษณะเป็นกระบวนการโดยยึดความเป็นธรรม กล่าวคือ มีการตรากฎหมาย ข้อบังคับต่าง ๆ เป็นลายลักษณ์อักษร กำหนดข้ออันควรปฏิบัติและข้อห้ามปฏิบัติ กำหนดโทษและวิธีดำเนินการทางวินัยเมื่อมีการฝ่าฝืน ฉะนั้นโดยหลักการทางกฎหมายบทบัญญัติวินัยต้องมีความชัดเจน ข้าราชการต้องทราบแน่ชัดว่าจะกระทำการอย่างใดได้หรือไม่ แต่มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ .ศ . 2518 ซึ่งเป็นบทบัญญัติควบคุมความประพฤติของข้าราชการกลับบัญญัติไว้ในลักษณะเปิดกว้าง ไม่รัดกุม ขาดปรัชญาการลงโทษทางวินัย ไม่มีวัตถุประสงค์ทางวินัยที่เด่นชัด ทำให้ผู้ปฏิบัติไม่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่ชัดเจน การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวจึงมีทิศทางที่หลากหลายลักลั่น ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกดำเนินการทางวินัยในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อจะศึกษาวิเคราะห์ปัญหาข้อกฎหมายและปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น จากการบังคับใช้มาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และศึกษาแนวทางหรือเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวฺกับการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษฐานประพฤติชั่ว เพื่อเป็นแนวทางพิจารณาเรื่องนี้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ผลของการวิจัยพบว่า จากการที่ได้บัญญัติความผิดวินัยฐานประพฤติชั่วไว้ในลักษณะเปิดกว้างเช่นนี้ ทำให้ทิศทางการพิจารณาความผิดฐานนี้ขยายขอบเขตออกไปอย่างกว้างขวาง การใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชาเป็นไปอย่างไม่มีขอบเขต ในบางครั้งได้ก้าวล่วงลงไปตัดสินในเรื่องความประพฤติส่วนตัวของข้าราชการ นอกจากนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาเรื่องประพฤติชั่วที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นนามธรรมไม่สามารถใช้เป็นแนวทางการพิจารณาของผู้บังคับบัญชาได้อย่างชัดเจน และในปัญหาประการสุดท้ายก็คือ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับความผิดฐานนี้กำหนดแนวทางการพิจารณาไว้ไม่สอดคล้องกับตัวบทกฎหมาย มาตรา 81 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนนี้ ฉะนั้น เพื่อลดปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขมาตรา 81 แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 โดยบัญญัติกฎหมายให้มีปรัชญา จุดมุ่งหมายของวินัยและแนวทาง การพิจารณาความผิดที่ชัดเจน นอกจากนี้จะต้องมีมาตรการทางกฎหมายและกลไกอื่น ๆ เป็นเครื่องมือประกอบการพิจารณาในเรื่องประพฤติชั่วของผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้จะช่วยให้การพิจารณาความผิดฐานประพฤติ ชั่วมีทิศทางที่ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถใช้เป็นแนวบรรทัดฐานได้มากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
Other Abstract: Official disciplines are stipulated as rules to control officials' behavior for proceeding an organization's personnel activities. Thai disciplinary system is a fair process consisting of laws and written rules prescribing appropriate and prohibited action as w ell as penalty and disciplinary action. According to legal principle, discipline provisions must be precise so that officials explicitly know whether their specific actions are appropriate. But section 81 of the Civil Service Act 1975 which controls officials' behavior is so broadly prescribed without any disciplinary punishment philosophy or explicit disciplinary objective to be a precise rule for an official. Thus, the enforcement of this law varies in directions causing unfairness for a person under a disciplinary action. The objectives of this research are to study and analyze legal and practical problems incurring from the enforcement of section 81 of the Civil Service Act 1975 and to study guidelines or standard principle in respect of trial and determination of punishment on gross misconduct in order to achieve more explicit consideration on this matter. The study finds that such broadly prescribed gross misconduct results in the overexpanding of this trial. A supervisor has no limit discretion which sometimes intruding in subordinate's personal behavior. In addition, the current principle of this trial is an abstract that is unusable as a precise guideline for a supervisor. The final problem is the application problem of section B1 of the Act of 1975 as the cabinet resolution on gross misconduct trial does not comply with this law. In order to eliminate these problems, section 81 of the Act of 1975 should be amended by prescribing philosophy, disciplinary objectives and explicit guideline on misconduct trial. Additionally, there must be other legal measures and mechanisms as tools for a supervisor's gross misconduct trial. This will lead to a right and explicit direction of this trial applicable as a better standard than the current one.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74044
ISBN: 9745790656
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paranee_ch_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch0_p.pdf947.81 kBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch1_p.pdf2.88 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch2_p.pdf2.21 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch3_p.pdf6.97 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch4_p.pdf4.65 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch5_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_ch6_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Paranee_ch_back_p.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.