Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65879
Title: มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลที่เป็นเกาะ : ศึกษาเฉพาะกรณีเกาะพีพี
Other Titles: Legal measure for the protection of island tourism : a case study of PP Island
Authors: สมพงษ์ จิวะวิทูรกิจ
Advisors: สุนีย์ มัลลิกะมาลย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Sunee.M@chula.ac.th
Subjects: ทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรทะเล -- ไทย -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Natural resources -- Thailand -- Law and legislation
Conservation of natural resources -- Thailand -- Law and legislation
Marine resources conservation -- Thailand -- Law and legislation
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและและสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่เป็นเกาะ มีสาเหตุมาจากการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ บนเกาะและในทะเล ซึ่งสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือในพื้นที่เขตอนุรักษ์จะมีปัญหาคือการที่ภาครัฐไม่สามารถควบคุมการประกอบกิจกรรมการท่องเที่ยวได้ ส่วนพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์จะมีปัญหาในการจัดการมากเนื่องจากว่าจะมีหน่วยงานหลายหน่วยงานเข้ามารับผิดชอบ อีกทั้งกฎหมายที่นำมาใช้ควบคุมการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้ก็ยังมีข้อบกพร่อง ทำให้มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงมาก ในงานวิจัยนี้จึงได้เสนอแนวทางในการแก้ปัญหาออกเป็น 2 พื้นที่ คือในพื้นที่เขตอนุรักษ์จะต้องนำระบบใบอนุญาตมาใช้ โดยการให้ผู้ที่เข้าไปประกอบธุรกิจท่องเที่ยวจะต้องเสนอแผนการจัดการต่อกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ส่วนพื้นที่นอกเขตอนุรักษ์จะต้องมีการควบคุมสิ่งปลูกสร้างบนเกาะและควบคุมการประกอบกิจกรรมท่องเที่ยว ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ ในปัจจุบันที่นำมาใช้ควบคุมได้ คือ พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 อีกแนวทางหนึ่งคือ การออกกฎหมายเฉพาะขึ้นมาเพื่อคุ้มครองแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่เป็นเกาะ ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะต้องกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาบริหารจัดการเกาะ โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นคณะกรรมการด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจ และกฎหมายฉบับนี้จะต้องให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีอำนาจในการกำหนดแนวทางในการอนุรักษ์และคุ้มครองเกาะด้วย นอกจากนี้จะต้องมีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ตลอดจนการนำมาตรการทางสังคม เช่น การมีส่วนร่วมของประชาชน และมาตรการทางเศรษฐศาสตร์มา ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเกาะด้วย
Other Abstract: Problems regarding the destruction of natural resources and environment in island tourism result from the conduct of activities in the island and the sea. The problems can be classified as being occurred in two areas. The first area falls within the preserve where the State cannot control the conduct of tourist activities. The second one is outside the preserve bearing the huge management problem due to many responsible state bodies and flawed laws on the control of activities conduct. All these problems, therefore, result in the severe environmental effect. The present research suggests the solutions to the said two areas. In the preserve area, licensing system should be introduced in the way that any person who intends to run a tourist business has to propose a management plan to the Department of National Park, Wildlife and Plant. On the other hand, there should be the control of buildings in the island and control the tourist activities outside the preserve by applying the existing laws which include the Promotion and Preservation of Environmental Qualities Act, B.E. 2535 (1992), the Buildings Control Act, B.E. 2522 (1979) and the Zoning Act, B.E. 2518 (1975). Another way recommended is the enactment of the specific law on the protection of island tourism. The said law should provide for the establishment of a committee responsible for island management, the composition of which should include a representative from a local organization as to be in accordance with the principle of decentralization. The proposed law should also provide Ministry of Tourism and Sports with a power to determine guidelines for the preservation and protection of the island. Furthermore, the ecotourism should be promoted, as well as social measures, such as public participation, and economic measures should be applied to the management of natural resources and environment of the island.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65879
ISBN: 9741749031
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompong_ji_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ823.97 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_ch1_p.pdfบทที่ 1891.31 kBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_ch2_p.pdfบทที่ 22.58 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_ch3_p.pdfบทที่ 32.01 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_ch4_p.pdfบทที่ 41.52 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_ch5_p.pdfบทที่ 51.03 MBAdobe PDFView/Open
Sompong_ji_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก966.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.