Arts - Journal Articles: Recent submissions

  • อารียา หุตินทะ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความฉบับนี้วิเคราะห์นวนิยายรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนประจำปีพุทธศักราช 2546 ของประเทศไทย ของเดือนวาด พิมวนา เรื่อง ช่างสำราญ โดยมุ่งวิเคราะห์เนื้อหาและลักษณะการนำเสนอ ผลการศึกษาพบว่า ช่างสำราญ ...
  • เทอดศักดิ์ ร่มจำปา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความเรื่องนี้ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมรักร่วมเพศชายในสังคมไทยว่ามีลักษณะเป็นเช่นไร จากการศึกษาพบว่าในสมัยจารีต แม้ว่าสังคมจะมีอคติต่อพฤติกรรมรักร่วมเพศในลักษณะที่ “เป็นความแปลกแยก” มิใช่ “หญิง” หรือ “ชาย” แต่ก็ไม่ปรากฏควา ...
  • พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความนี้ให้ภาพประวัติศาสตร์เกี่ยวกับสตรีไทย โดยสะท้อนให้เห็นถึงสถานภาพของสตรีไทยในด้านต่างๆ คือ ด้านชีววิทยา ความสัมพันธ์กับครอบครัว เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง บทวิเคราะห์นี้ใช้หลักฐานสำคัญ 2 อย่างคือ 1. ภาษิตโบราณของกล ...
  • ปวิตร มหาสารินันทน์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความวิจัยประกอบงานสร้างสรรค์นี้อภิปรายแนวคิดเรื่องความจริงกับความลวงในละคร วิเคราะห์บทละครอเมริกันร่วมสมัยเรื่อง Private Eyes ของสตีเฟน ดีตส์ ละครซ้อนละครถึงสี่ชั้น ซึ่งเนื้อหาและรูปแบบเต็มไปด้วยการโกหกและการหลอกให้หลงทาง ...
  • พรรัตน์ ดำรุง (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความวิจัยนี้ต้องการศึกษาว่าความเป็น “ผู้หญิง” ของผู้กำกับการแสดงละครเวทีมีส่วนสำคัญหรือไม่อย่างไรในการกำหนดเรื่องราวและกลวิธีในการกำกับการแสดงละครเพื่อสื่อสาระกับผู้ชมของตน ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากการชมละคร 20 เรื่องในเทศกาล ...
  • ชมนาถ ศีติสาร (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    ประเพณีโยะบะอิ (Yobai) เป็นหัวข้อสำคัญหัวข้อหนึ่งในการศึกษาเรื่องเพศทางคติชนวิทยาในประเทศญี่ปุ่น นักคติชนรุ่นก่อนมักมองว่า ประเพณีดังกล่าวจะนำไปสู่การแต่งงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน การศึกษาเปรียบเทีย ...
  • ศิริพร ศรีวรกานต์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความนี้ศึกษาการนำเสนอเรื่องเพศใน สรรพลี้หวน จัน ดารา และอิสตรีอีโรติก ผลการวิจัยสรุปว่า สรรพลี้หวน นำเสนอเรื่องเพศโดยนัยในขณะที่ จัน ดารา และ อิสตรีอีโรติก นำเสนอเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมา สรรพลี้หวนใช้คำผวนเพื่อซ่อนเรื่ ...
  • จินตนา ธันวานิวัฒน์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    สวีจื้อหมัวกวีโรแมนติกในวรรณคดีสมัยใหม่ของจีน เขาเป็นทั้งกวี นักเขียนและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงและมีผลงานกวีนิพนธ์โดดเด่น สวีจื้อหมัวยังเป็นแกนนำในชุมนุมวรรณศิลป์ พระจันทร์ใหม่ ซึ่งเป็นชุมนุมวรรณศิลป์ที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น ...
  • ดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    บทความฉบับนี้วิเคราะห์บทละครรางวัลพูลลิตเซอร์ ปี ค.ศ. 1999 ของ มาร์กาเร็ต เอ็ดสัน เรื่อง Wit โดยมุ่งศึกษาความคิดหลักที่ว่าด้วยความรู้และความรักด้วยการสร้างโครงเรื่อง การเสนอภาพ ตัวละคร และการใช้สหบท เอ็ดสันเสนอความคิดที่ ...
  • วรุณี อุดมศิลป (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    ในผลงานประพันธ์ประเภทนวนิยายของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ แก่นเรื่อง “กาย” เป็นแนวทางสำคัญในการถ่ายทอดแนวคิดเรื่องสกลภาะว (I’universalite) ตัวละครมีลักษณะเป็นปัจเจกบุคคล แต่มีขั้นตอนและประสบการณ์ชีวิตร่วมกัน ต่างมุ่งมั่นที่จ ...
  • สุภัควดี อมาตยกุล (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    ในบทความนี้ ข้าพเจ้ากล่าวถึงแนวคิดและข้อโต้แย้งของเพลโตในเรื่องธรรมชาติของผู้หญิงดังที่ปรากฏในบทที่ห้าของ Republic ข้าพเจ้าอภิปรายและวิจารณ์ข้อโต้แย้งดังกล่าวในงานเขียนของซูซาน มอลเลอร์ โอคินจากหนังสือ Women in Western ...
  • เนื่องน้อย บุณยเนตร (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    จริยศาสตร์แห่งความอาทร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ได้รับแรงบันดาลใจจากงานเขียนเรื่อง “จากเสียงที่ต่างไป” (“In A Different Voice”) ซึ่งเริ่มจากการ “ฟัง” เสียงผู้หญิงและประสบการณ์ทางจริยธรรมของผู้หญิงกลับช่วยดึงจริยศาสตร์ให้ติดดิน ...
  • สิริเพ็ญ พิริยจิตรกรกิจ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546)
    ข้อเขียนนี้ต้องการตอบคำถามว่า นักญาณวิทยาควรทุ่มเทเวลาให้กับการอ่านและติดตามข้อถกเถียงในสาขาญาณวิทยาสตรีนิยมหรือไม่ คำตอบของดิฉันค่อนไปทางปฏิเสธ เมื่อดูแนวทางศึกษาของญาณวิทยาสตรีนิยมสองแบบ ได้แก่ ทฤษฎีจุดยืนนิยมและโพสโดเ ...
  • Darin Pradittatsanee (Faculty of Arts. Chulaongkorn University, 2002)
    In its analysis of “A Church Mouse” and “Christmas Jenny,” Mary E. Wilkins Freeman’s two short stories from A New England Nun and Other Stories, my paper examines this writer’s redefinition of female spirituality in the ...
  • พวงทิพย์ เกียรติสหกุล (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
    วัตถุประสงค์ในการศึกษาวาทกรรมว่าด้วยกองทัพญี่ปุ่น สมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา เน้นการศึกษาความทรงจำที่ถูกสร้างขึ้นเป็นตัวแทนทางประวัติศาสตร์ผ่านทางรถไฟสายมรณะ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งอดีตที่ปรากฏขึ้นจริงในรูปของสุสานสงครามกาญจนบุรี ...
  • ศศิธร เหลืองจินดา (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
    บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ ประการแรกเพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างบทละคร แมกเบท ของวิลเลียม เชกสเปียร์ กับ เดอะ ทรีเพนนีโอเปรา ของแบร์ทอลท์ เบรซท์ และ แมกเบิร์ด ของบาร์บารา การ์สัน ประการที่สองเ ...
  • วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
    Es เป็นคำสรรพนามที่สำคัญและใช้กันมากในภาษาเยอรมัน แต่ผู้เรียนภาษาเยอรมันชาวไทยจำนวนไม่น้อยประสบปัญหาในการใช้คำสั้นๆ คำนี้ บทความนี้อธิบายบทบาทหน้าที่และวิธีการใช้ es รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาการใช้คำ es ที่พบบ่อยในหมู่นักศึก ...
  • วัลยา วิวัฒน์ศร (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
    นวนิยายเรื่อง ราชมรรคา เขียนด้วยลีลาสะบัดร้อนสะบัดหนาว เพื่อสะท้อนสภาพจิตใจของตัวละครเอกนักเผชิญโชคผจญภัยในป่าดงดิบเขมร ลาว และชายแดนสยาม การแปลราชมรรคาจึงมิใช่เรื่องง่าย ผู้ประพันธ์เสนอภาพด้วยมุมมองของกล้องภาพยนตร์ด้วยก ...
  • วรุณี อุดมศิลป (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545)
    “กาลีเศียรขาด” เป็นบทประพันธ์ของมาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ ซึ่งเป็นทั้งนักประพันธ์สตรีคนแรกและผู้หญิงคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกของราชบัณฑิตยสถานแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (L’Academie francaise) เมื่อ ค.ศ. 1981 บทประพันธ์ ...
  • ดินาร์ บุญธรรม (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547)
    บทความเรื่องนี้มีจุดประสงค์ในการศึกษาภาพพฤติกรรมโจรและอันธพาลที่จิตรกรในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้วาดไว้บนผนังโบสถ์วิหารของพระอารามหลวงแห่งสำคัญที่สร้างหรือปฏิสังขรณ์ขึ้นในรัชกาลนั้น โดยจะได้ศึกษาวิเ ...